ทางเลือกใหม่-ลดผ่าตัดอวัยวะสำคัญ
ในแวดวงคนป่วยที่รู้ตัวว่าจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการ
“ผ่าตัด” เพื่อจัดการกับต้นตอของปัญหาที่เป็น “ตัวป่วน” ที่มาสร้างความป่วยไข้ให้ตัวเองนั้นหากเป็นแค่ผ่าตัดย่อยก็คงไม่ทำให้ต้องมากังวลใจนัก
แต่หากเป็นกรณีที่เข้าข่ายว่าถึงกับต้อง “ผ่าตัดใหญ่” ละก็
ไม่ใครก็ใครคงต้องมีความหวั่นอกหวั่นใจเป็นธรรมดา ยิ่งถ้าต้นตออยู่ที่อวัยวะสำคัญ
เช่น “หัวใจ” หรือ “สมอง”
ด้วยแล้วความหวั่นอกหวั่นใจจะไม่เกิดกับคนป่วยเท่านั้น
หากแต่จะทำให้คนใกล้ชิดต้องพลอยออกอาการ “ปอดกระเส่า”
แทบจะทั้งครอบครัวก็ว่าได้โดยมีตัวอย่างอ้างอิงให้ได้ยินกันมาตลอดระยะเวลาหลาย ๆ
ปีก่อนหน้านี้ ที่มีกรณีของ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”
ออกอาละวาดบ่อย ๆ ขณะที่การยื้อชีวิตให้ผู้ป่วยมักจะหนีไม่พ้น “การผ่าตัดทำทางเบี่ยง”
ซึ่งคุณหมอต้องผ่าตัดเปิดหน้าอกผู้ป่วยเป็นแนวยาวแต่ก็จำใจยอมเพราะเป็นทางเลือกสุดท้ายโดยที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดต้องยอมรับ
“ความเสี่ยงสูง” แบบนั้นเนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่นมากกว่านั้น...จนกระทั่งวัน-เวลาผ่านไปพร้อมกับความก้าวหน้าของวงการแพทย์ที่ได้มีการ
“แจ้งเกิด” กระบวนการรักษาแบบใหม่โดยการ “ทำบอลลูน-ขยายหลอดเลือดหัวใจ”
มาเพิ่ม “ทางเลือก” ให้ผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นต้อง “ผ่าตัดเปิดหน้าอก”
ที่เป็นมาตรฐานการรักษามาก่อน และเพียงไม่นานหลังจากนั้น “การทำบอลลูน-ขยายหลอดเลือดหัวใจ”
ก็เป็นที่ยอมรับและมีการนำมาใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างกว้างขวางมาถึงวันนี้ อีกทั้งยังมีวิวัฒนาการก้าวหน้ายิ่งขึ้นจากเริ่มแรกซึ่งใช้วิธี...เจาะเส้นเลือดที่ขาหนีบเป็นช่องทางสำหรับสอดใส่สายสวนนำบอลลูนเข้าไปสู่ตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบในหัวใจ
ก็สามารถเพิ่มช่องทางใหม่โดยการเปิดช่องทางโดยอาศัย “เส้นเลือดที่ข้อมือ”
แทน

เช่นเดียวกับกรณี
“โรคหลอดเลือดสมอง” ซึ่งการรักษาในอดีตเมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้วคุณหมอก็จะพิจารณาใช้การผ่าตัดสมองเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วย
และเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับผู้ป่วยที่จะต้องเกิดแผลขนาดใหญ่ที่ศีรษะ ขณะที่การฟื้นตัวหลังการผ่าตัดต้องใช้ระยะเวลานาน
จึงทำให้ผู้ป่วยทางสมองมี “ความรู้สึกเชิงลบ” หากจะต้องการเข้ารับการผ่าตัดสมองซึ่งก่อให้เกิดความวิตก-น่ากลัวกับหัตถการที่ซับซ้อนแบบนี้...และในที่สุดก็ได้ก่อให้เกิดวิวัฒนาการก้าวหน้าทางการแพทย์ในลักษณะคล้ายคลึงกับการทำบอลลูน-ขยายหลอดเลือดหัวใจ
โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเกิดความ “หวาดวิตก” กับการผ่าตัดสมองเมื่อเกิดภาวะ “หลอดเลือดสมองตีบ”
หรือ “มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง” คุณหมอก็สามารถเปลี่ยนมาเลือกทำหัตถการ “การสวนหลอดเลือดสมอง” โดยการเจาะเส้นเลือดที่บริเวณขาหนีบของผู้ป่วยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปสู่หลอดเลือดสมองที่มีความผิดปกติ
แล้วจึงทำการรักษาด้วยการ “ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดไม่ให้ตีบตัน” หรือจะทำการ
“ลากลิ่มเลือด” ที่อุดตันออกมาโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดศีรษะที่เป็นมาตรฐานมาก่อน...!!!
เพิ่มงบฯ พัฒนารับมือ “โรคหลอดเลือดสมอง”
วิวัฒนาการก้าวหน้าทางการแพทย์ดังที่ “อุ่นใจ...ใกล้หมอ”
ยกมาสาธยายนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยเคราะห์ร้ายที่เจอ
“ภัยเงียบ-โรคหลอดเลือดสมอง” ซึ่ง “นพ.ดุสิต ศรีสกุล...ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลานนา” อธิบายว่า
“...โรคหลอดเลือดในสมองมีอันตรายมาก
หากเกิดกรณีหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตกและหากผู้ป่วยได้รับรักษาล่าช้าจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาตตามมา
ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
โดยอาศัยเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย และมีความพร้อมในการรักษาไม่ว่าจะเป็นการทำหัตถการ
และการผ่าตัดซึ่งล้วนต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์เพื่อเสริมสร้างการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุผลการรักษาสูงสุด
ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลลานนา ได้จัดความพร้อมด้วยการจัดระบบ
Stroke
Fast track
เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เริ่มเกิดอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
จึงได้จัดเตรียมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการดูแลโรคปวดหัว โรคสมองและระบบประสาท
โรคหลอดเลือดสมอง โดยมีศักยภาพในการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่คอตีบอีกด้วยเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
และลดภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาตให้กับผู้ป่วยด้วยโรคทางสมองครับ...และใคร่ขอเรียนให้ทราบว่าปัจจุบันโรงพยาบาลลานนา
ได้ใช้งบประมาณเพิ่มอีกกว่า 25 ล้านบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีประจำ
ห้องปฏิบัติการสวนหลอดเลือด เพื่อให้บริการรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านหลอดเลือดสมองโดยพร้อมให้การรักษาทั้งแบบผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัดครับ...”

พัฒนา
“หัตถการสวนผ่านหลอดเลือดข้อมือ”
อย่างไรก็ตาม
กรณีของการทำหัตถการ “สวนหลอดเลือดสมอง” โดยการเจาะเส้นเลือดที่บริเวณขาหนีบของผู้ป่วยเป็นทางผ่านไปสู่หลอดเลือดสมองที่มีความผิดปกตินั้น
แม้จะเป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดความน่ากลัวเหมือนการผ่าตัดสมอง แต่ก็เป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บบริเวณขาหนีบหลังการรักษา
จึงส่งผลให้ “ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลลานนา” โดย “นพ.ณัฐวรรธ วิฑูรย์ กับ นพ.ศุภชาติ
แจวจันทึก.... ศัลยแพทย์ระบบประสาท และแพทย์รังสีร่วมรักษาทางระบบประสาท” ได้พัฒนาเทคนิคการทำหัตถการโดย “การสวนหลอดเลือดแบบใหม่
ผ่านทางข้อมือ” หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Transradial
Approach Cerebral Angiography’ ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาแบบเดียวกัน
แต่เจาะผ่านข้อมือเข้าไปสู่หลอดเลือดสมองที่มีปัญหา และแม้ว่าจะเป็นเส้นทางหลอดเลือดที่เข้าถึงยากกว่าทางขาหนีบ
แต่ให้ผลการรักษาเป็นที่พึงพอใจมากกว่าวิธีเดิม โดยในระหว่างการรักษาผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดเวลาและหลังการรักษาจะใช้เพียงไม้ค้ำยันบริเวณข้อมือเท่านั้น
ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นอนพักแค่ 1 คืนก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้...และกรณีการทำหัตถการผ่านข้อมือถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ที่สามารถรักษาด้วยเทคนิคนี้...
.jpg)

หลังจากได้เผยถึงความสำเร็จดังกล่าวนี้แล้ว
“คุณหมอดุสิต” ยังได้กล่าวเสริมว่า
“...ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลลานนา มีความพร้อมสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยในกลุ่มของโรคหลอดเลือดสมองให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้ผลรวดเร็วแม่นยำโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่
จึงสามารถช่วยลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และคืนสู่การใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้น
เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดทางสมอง แตก ตีบ ตัน และจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็วว่องไวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตครับ...”
“ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลลานนา”
รักษาและฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโลยีแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ติดต่อสอบถาม โทร.052-134777
โรงพยาบาลลานนา
พร้อมเป็นศูนย์กลางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง