โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

31 พฤษภาคม 2562

สาวเชียงใหม่วัย 30 เจอ “โรคปวดหลัง” ทำพิษ… รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ผ่าแผลเล็ก ฟื้นไว ไปสู้งานต่อ!!



นึกไม่ถึงว่าอายุยังน้อย...จะรอดพ้นทรมาน
ท่านผู้อ่านที่อยู่ในวัย 30 ต้น ๆ ลองถามเพื่อนรอบข้างดูซิว่ามีใครเคยเจอโรคปวดหลังทำพิษจนไม่สามารถออกไปทำการทำงานหรือไปไหนต่อไหนหรือไม่???  เอาเป็นว่าถ้าป้อนคำถามไปแล้วก็อาจได้คำตอบไม่ชัดเจนโดยอาจมีทั้งคนที่บอกว่าเคยปวด และไม่เคยเดือดร้อนรำคาญกับเรื่องพรรค์นี้ ผลก็คือคนถามไม่อาจพึ่งพาเพื่อนคนไหนได้เพราะด้วยวัยขนาดนั้นย่อมยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นปกติเป็นส่วนใหญ่ หากจะมีปวดหลังบ้างก็อาจเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวจากการที่ไปใช้หลังผิดวิธี หรือไปออกกำลังแบบฮวบฮาบจากที่ไม่เคยทำมาก่อน หรืออื่นใดก็ตามซึ่งอาจหายไปในไม่กี่วันจึงทำให้สาวชาวเชียงใหม่รายหนึ่งซึ่งเพิ่งจะเริ่มมีวัยถึง 30 ปีได้ไม่กี่เดือนแต่ต้องมาแบกความทุกข์จากอาการปวดหลังรุนแรงแตกต่างไปจากคนรอบข้าง เรื่องนี้เจ้าตัวคือ “คุณสรญา รัตนไตร” ได้เปิดใจเล่าว่า 

“ไม่รู้เลยจริงๆ ว่าเราปวดหลังเพราะสาเหตุอะไร? ถ้าเดาคือจริง ๆ แล้วน่าจะมาจากการที่เราทำงานมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียน เรียกได้ว่าเราทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย พัฒนาตนเองเรื่อยมา ขยับขยายธุรกิจต่อยอดมาจนประสบความสำเร็จได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งจากการที่เราทำงานหนักมาตลอดโดยไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองเท่าที่ควรเนื่องจากคิดว่าอายุยังน้อยคงไม่เจอกับอาการปวดหลัง แต่ดิฉันคิดผิดเพราะอาการปวดหลังของดิฉันตอนแรกยังไม่ได้มีอาการหนักมากมายขนาดนี้ เพราะคิดว่ามาจากการที่เราเดิน ยืน นั่งนาน ๆ ก็น่าจะมาจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน แต่พอวันเวลาผ่านไป อาการปวดหลังที่มีอยู่เริ่มรุมเร้าชีวิตของดิฉันเรื่อยมา จากเจ็บน้อย ๆ ก็เริ่มเจ็บมากขึ้น เริ่มมีอาการชาร้าวลงขา เวลาทำงานนาน ๆ หรือ ยืน เดินได้ไม่นานก็ต้องนั่งพัก เพราะทนความปวดไม่ไหว จนหนักที่สุดถึงขั้นที่เดินเองไม่ได้เพราะทุกครั้งที่ก้าวเท้าไปจะเจ็บปวดทรมานเป็นที่สุด เมื่อทนไม่ไหวต้องไปให้คุณหมอรักษาโดยไปที่ ศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ค่ะ” 

อุปกรณ์การแพทย์ช่วยหา “รอยโรค”

นั่นคือการตัดสินใจที่ถูกต้องของสาวเชียงใหม่ผู้ขยันขันแข็งรายนี้ เพราะเมื่อไปถึงที่หมายแล้ว “คุณสรญา” ได้รับการตรวจโดย “นพ.เดชวัศวร์ ศิวัชพันธุ์  แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ ประจำศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา”  และหลังจากเล่าถึงประวัติสุขภาพที่ผ่านมารวมถึงอาการปวดหลังพร้อมข้อสันนิษฐานของเจ้าตัวด้วยแล้ว “คุณหมอเดชวัศวร์” ได้ส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีตรวจร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI จึงช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคได้ชัดเจน เช่น เส้นเอ็น หมอนรองกระดูก น้ำหล่อเลี้ยงกระดูกสันหลัง และสภาวะภายในของกระดูกสันหลัง ซึ่งช่วยให้คุณหมอประเมินถึงสาเหตุของการอาการปวดหลังที่แท้จริงซึ่งก็คือ “กระดูกสันหลังของผู้ป่วย รวมทั้งหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทสันหลัง”...

คราวนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าเหตุใด “คุณสรญา”  จึงมีอาการปวดหลังมาโดยตลอด ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ อาการก็จะยิ่งหนักขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่เจ้าตัวได้เล่าย้อนถึงประสบการณ์อันขมขื่นให้ทราบนั่นเอง...แลพภายหลังจากที่ทราบถึงที่มาสาเหตุของอาการปวดหลังแล้ว “คุณหมอเดชวัศวร์” ก็ได้ให้การรักษาเบื้องต้นโดยให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด และฉีดยารอบรากประสาทสันหลังเพื่อระงับอาการปวดที่เกิดขึ้น  เนื่องจากผู้ป่วยอายุยังน้อย...แต่เมื่อให้การรักษาแบบนั้นแล้วไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นเท่าที่ควร คุณหมอจึงแนะนำให้ทำการรักษาโดยการผ่าตัดหลังในที่สุด พร้อมทั้งยังอธิบายด้วยว่า...การผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องใหญ่และน่ากลัวเหมือนในอดีต...ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องที่มีการเล่าขานต่อกันมานานเกี่ยวกับกรณีการผ่าตัดหลังตั้งแต่อดีต เช่นมีการให้ข้อมูลว่าผ่าตัดหลังเสร็จแล้วต้องรอพักอีกนานกว่าจะทำงานได้เหมือนเดิม หรือบางทีก็พูดว่าผ่าแล้วอาจจะกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ รวมทั้งเรื่องร่องรอยแผลผ่าตัดที่เห็นเป็นแนวยาวอยู่ด้านหลังก็น่ากลัว จึงส่งผลให้ใครต่อใครเข็ดขยาดกับการผ่าตัดเรื่อยมา!!!


พ้นทุกข์ด้วยเทคโนฯ ผ่าตัดแผลเล็ก หายไว
ผิดกับในปัจจุบันซึ่ง คุณหมอเดชวัศวร์” เผยว่าในวงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมากโดยมีการคิดค้น “เทคโนโลยีการผ่าตัดหลังแบบแผลเล็ก” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า MIS ซึ่งย่อมาจากคำว่า Minimal Invasive Surgery แบบเดียวกับที่ “ศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา ได้นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคปวดหลังโดยเป็นเทคนิคที่ต่างจากเมื่อก่อนตรงที่คุณหมอจะเปิดแผลขนาด 2-3 ซม. อันเป็นผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดน้อย กล้ามเนื้อบอบช้ำน้อย จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวกว่า และกลับบ้านได้เร็วมากขึ้น ซึ่งต่างจากการผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่ต้องเปิดแผลขนาดประมาณ 5 – 10 ซม.เพื่อทำการผ่าตัดรักษา...

หลังจากที่  “คุณสรญา”  ได้เข้ารับการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้แล้ว เจ้าตัวบอกเลยว่า “เหมือนยกภูเขาออกจากอก เพราะความเจ็บปวดทรมานที่เคยมีอยู่ตลอด มันได้ลดน้อยถอยไปอย่างรวดเร็ว จนดิฉันรู้สึกเหมือนได้ชีวิตใหม่ นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 2 คืนก็สามารถกลับบ้านได้แล้ว หลังจากนั้นไม่กี่อาทิตย์ ดิฉันก็สามารถกลับไปดำเนินธุรกิจของดิฉันได้ตามปกติค่ะ...และจากประสบการณ์นี้ทำให้ดิฉันคิดว่าต่อไปต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้น ไม่ยกของหนัก ไม่นั่งยืนเดินนาน ไม่โหมทำงานหนักเกินไป รวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะการมีสุขภาพดีไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ได้อยู่กับครอบครัวอันเป็นที่รัก ถือเป็นความสุขอย่างที่ดิฉันต้องการค่ะ...”

ต้องขอขอบคุณผู้ป่วยสาวรายนี้ที่ได้ช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการขจัดโรคปวดหลังของเธอสำหรับเป็นข้อมูลความรู้แก่ชาวเชียงใหม่และชาวเหนืออีกหลายต่อหลายคนที่ยอมทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหลังเพราะไม่ทราบถึงความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าดังเช่นการผ่าตัดรักษาโรคปวดหลังดังที่ ศูนย์โรคปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา นำมาใช้ในกรณีของ คุณสรญา”  นั่นเอง

หมอจอแก้ว 

24 พฤษภาคม 2562

หนุ่มนายแบบชื่นชมการรักษา “ไส้เลื่อน” ที่ รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ “ผ่าตัดส่องกล้อง”





รับประกันเลยว่าถ้าเอ่ยคำว่า “ไส้เลื่อน” ให้ได้ยินแล้วหลายท่านก็จะไปถึงบางอ้อ ในขณะที่บางท่านที่เคยเจอมาแล้วก็อาจถึงกับส่ายหัวพร้อมกับถอนหายใจไปพร้อมกัน...เพราะเคยรู้เคยเจอฤทธิ์มาแล้วว่าเป็นโรคที่ทำให้ท่านชายไม่อยากเจอ แต่วันดีคืนดีเวลาอาบน้ำจะสังเกตเห็นว่ามีตุ่มนูนออกมาจากบริเวณขาหนีบ ซึ่งจะหายไปเมื่ออยู่ในท่านอน เว้นแต่เวลาไอหรือจามก็จะเห็นเลยว่าตุ่มที่ว่านี้พองตัวออกมาโดยเจ้าตัวอาจไม่รู้และไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่ เหมือนดังที่ “คุณเบิร์ด พิทยา ณ ระนอง”...นายแบบหนุ่มหล่อจากวงการแฟชั่นยุค 90 ซึ่งปัจจุบันทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ช้างไทย อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ได้เผยให้ทีมงาน “อุ่นใจ..ใกล้หมอ” ได้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้ง ๆ ที่สุขภาพร่างกายโดยทั่วไปก็แข็งแรงเป็นปกติ นานทีปีหนจึงจะมีป่วยบ้าง...พอเห็นตุ่มนี้ตอนแรกก็ไม่ทราบว่าคืออะไร และเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะเดินค่อนข้างมาก โดยมีบ่อยครั้งที่ต้องยกของระหว่างทำงาน แต่เวลาก้มตัว ยกของหรือออกแรงก็จะมีความรู้สึกปวดหน่วง ๆ บริเวณตุ่มที่ว่านี้ จึงคิดว่าไม่ปกติแล้วก็เกิดความกังวลใจตามมาจนคิดว่าต้องทราบให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรากันแน่ ทำให้ต้องไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาลลานนาทำให้รู้ว่าถูก “โรคไส้เลื่อน” เล่นงานและต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่ง “หนุ่มเบิร์ด” กล่าวว่าพอใจในการผ่าตัดรักษาที่ รพ.ลานนาอย่างมากเพราะการผ่าตัดแบบส่องกล้อง นอกจากจะรู้สึกเจ็บตัวเล็กน้อยแล้วยังมีแผลขนาดเล็กซึ่งต่างจากเพื่อนบางคนที่เคยเจอมาก่อนและยังปรากฎรอยแผลเป็นแนวยาวคาอยู่ที่ท้องน้อยจนถึงวันนี้...



ก่อนจะพาไปติดตามรายละเอียดต่อไป “หมอจอแก้ว” จะขอบอกเล่าเรื่องราวของ “โรคไส้เลื่อน” ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง แต่อาจเป็นเพราะฝ่ายที่เจอฤทธิ์ของโรคนี้มักเป็นคุณผู้ชายส่วนใหญ่มาแต่ไหนแต่ไรแล้วโดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งทั้งที่ขาหนีบ, ผนังหน้าท้อง, สะดือ และรอยแผลผ่าตัดเดิม ทั้งนี้วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้พ้นความทรมานจากโรคนี้ได้...แต่ด้วยเหตุที่การผ่าตัดไส้เลื่อนอาจฟังดูน่ากลัว และที่ผ่านมาวิธีการผ่าตัดรักษานั้นคุณหมอจะทำการเปิดแผลเป็นแนวยาวทีเดียวเพื่อความสะดวกในการกำจัดปัญหาไส้เลื่อนจึงเป็นผลให้ผู้ป่วยต้องพักฟื้นหลายวันหลังการผ่าตัดเพื่อรอให้แผลหาย โดยที่รอยแผลผ่าตัดยังจะคาอยู่โดยไม่อาจกำจัดได้ จึงส่งผลให้คนรุ่นหลังได้รับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกเชิงลบสู่กันและกันเรื่อยมา!!! 



สำหรับสาเหตุของการเกิด “โรคไส้เลื่อน” นั้น “นพ.ชนะพงศ์  จิรพรเจริญ”...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมส่องกล้อง โรงพยาบาลลานนา อธิบายว่า “...โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น ลักษณะอาการคือ ลำไส้มีการไหลเลื่อน หรือทะลักเข้าไปในบริเวณใด บริเวณหนึ่ง เช่น บริเวณขาหนีบ หรือถุงอัณฑะ เป็นต้น ทำให้เป็นก้อนตุง โดยมักมีอาการแสดงเวลามีแรงดันในช่องท้องสูง เช่น เวลาไอ จาม เบ่งถ่าย ยกของหนัก เป็นต้น...” ส่วนทางด้านของการรักษานั้น “คุณหมอชนะพงศ์” ระบุว่า “...ดีที่สุดก็คือการผ่าตัดเท่านั้น...” ทั้งนี้เพื่อจะได้นำลำไส้หรืออวัยวะอื่นกลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม และเย็บปิดรู หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เป็นจุดอ่อนให้ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออก...ซึ่งการผ่าตัดรักษาที่ใช้ในปัจจุบันจะมี 2 แบบ หลัก ๆ คือ “การผ่าตัดแบบเปิด” ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็นการผ่าตัดโดยการเปิดแผลยาวประมาณ 8 – 10 ซม.เพื่อเป็นช่องทางเข้าไปผูกตัดถุงที่ยื่นออกมาและเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่มีปัญหา แต่วิธีนี้เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บติดตรึงกันจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด เสียเลือดมาก พักฟื้นในโรงพยาบาลราว 5 – 7 วัน เมื่อกลับไปทำงานแล้วยังต้องอาศัยเวลาในการเดินยืดตัวตรงให้ได้ตามปกติโดยมีแผลเป็นรอยยาวติดตัวไปตลอด...

แต่เมื่อเทคโนโลยีในวงการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมากยิ่งขึ้น ได้ช่วยให้คุณหมอมีอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาไส้เลื่อนด้วยเทคนิคการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องโดยการเจาะรูขนาดเล็กที่บริเวณผนังหน้าท้องประมาณ 3 รูสำหรับสอดใส่กล้องขนาดเล็กเข้าไปพร้อมกับเครื่องมือผ่าตัดพิเศษเพื่อทำการซ่อมผนังหน้าท้องด้านในให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ปูคลุมผนังหน้าท้องส่วนที่มีปัญหาอันเป็นการป้องกันมิให้กลับมาเป็นซ้ำอีก...ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็ก ช่วยให้เจ็บตัวน้อย หายไว ไม่ต้องพักฟื้นนาน ทั้งยังลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำไปพร้อมกัน!!!



เขียนมาถึงตรงนี้ก็เชื่อว่าท่านผู้อ่านชาวเหนือคงจะเข้าใจได้ทันทีถึงสาเหตุที่ โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ ได้ตัดสินใจนำ “เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง” มาเป็นอีก 1 ทางเลือกสำหรับรักษา “โรคไส้เลื่อน” ให้กับผู้ที่ต้องเจอฤทธิ์ของโรคนี้ได้พบกับความพึงพอใจและประทับใจกับการบำบัดรักษาเหมือนที่ “หนุ่มเบิร์ด” ได้แฮปปี้มาแล้วพร้อมกับฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า “...แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นไว หายเร็ว ไร้แผลเป็นแนวยาว...” ซึ่งก็ไม่ยากสำหรับท่านผู้อ่านชาวเหนือที่จะจดจำกันไว้...ใช่ไหมครับ???

                          
                                                                 หมอจอแก้ว


22 พฤษภาคม 2562

“เอ็นไหล่ฉีก”...เรื่องใหญ่แต่รักษาง่ายกว่าเดิม!! รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ผ่าตัดส่องกล้องหายไว ...




ปวดทรมานขนาดไหน...ผู้เคยเจอจะรู้ดี

ม่เคยเจอการกระแทกกระทั้นใด ๆ ที่หัวไหล่ของตัวเอง แต่อยู่ดี ๆ ก็เจ็บปวดขึ้นมาโดยเฉพาะเวลานอนท่าตะแคง พอรุ่งขึ้นอีกวันก็เริ่มยกแขนข้างที่เจ็บขึ้นลงไม่ได้เหมือนกับว่าไม่มีแรง แต่ไม่ได้คิดว่าจะเป็นอะไรมากจึงไม่ได้รักษาจริงจัง แค่ทายาหม่องและนวดอยู่เกือบ 2 เดือนก็ไม่หายจึงเริ่มคิดว่าไม่น่าจะใช่อาการทั่วไปแล้ว เพราะขยับแขนเมื่อไหร่เป็นต้องเจ็บปวดทุกครั้ง บางทีอยู่เฉยๆ ก็ปวดรุมเร้าอยู่ตรงนั้นอีกด้วย จึงไปโรงพยาบาลลานนาเพื่อให้คุณหมอช่วยตรวจวินิจฉัยหาต้นเหตุที่แท้จริง... คุณทองสุข มูลขัติ ข้าราชการวัย 50 ปลาย ๆ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไม่นานมานี้และเป็นผลให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาซ่อมแซมเอ็นหัวไหล่ที่ฉีกขาดโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวและเข้าใจดีว่าหัวไหล่ถูกใช้งานมากจนตัวเองมีวัยใกล้เกษียณแล้วจึงน่าจะเกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ซึ่งหลังจากคุณหมอได้ตรวจพบที่มาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดแน่นอนแล้ว “คุณทองสุข” ก็ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง และหลังจากผ่าเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับมาโดยตรงว่า



“...การรักษาข้อไหล่ด้วยการส่องกล้องนี้ ทำให้ผมได้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดไปโดยสิ้นเชิง จากความรู้เดิม ๆ ที่เราเคยได้ทราบมาก่อนว่าการผ่าตัดจะเป็นแบบเปิดแผลและมีรอยแผลเป็นแนวยาวให้เห็น ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน แถมยังเจ็บตัวมากกว่าวิธีการผ่าตัดโดยการส่องกล้องที่คุณหมอใช้ผ่าให้ผม และหลังผ่าตัดแล้วผมนอนพักฟื้นเพียง 2 คืนก็สามารถกลับบ้านได้แล้ว หลังจากนั้นไม่ถึงเดือนก็สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ...”
เรื่องอย่างนี้ไม่ค่อยมีใครนำมาเล่าสู่กันฟังบ่อยนักซึ่งอาจเป็นเพราะกรณีเอ็นไหล่ฉีกไม่ใช่การเจ็บป่วยที่มีอันตรายรุนแรงถึงขั้นล้มหายตายจาก แต่ถ้าจะว่าไปแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยปละละเลยโดยไม่ให้ความสำคัญนะครับ เพราะเมื่อเกิดกรณีที่เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดขึ้นมาแล้วใช่ว่ามันจะสร้างความเจ็บปวดเท่านั้น แต่ในระยะยาวจะไปไกลถึงขนาดใช้แขนข้างที่เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดไม่ได้อย่างถาวรเลยทีเดียว หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี ส่วนจะต้องรักษากันด้วยวิธีไหนอย่างไรบ้างนั้น ต้องขอแรงคุณหมอที่รู้เรื่องนี้มาช่วยอธิบายดีกว่า... “นพ.ไกรพ วิวัฒนพณิชย์  แพทย์ผู้ชำนาญการส่องกล้องรักษาข้อต่อ ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” พูดให้ฟังว่า

“...เอ็นหัวไหล่ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวส่วนบน ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างแขนบนและไหปลาร้าเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้หัวไหล่มีความแข็งแรง และทำให้กล้ามเนื้อไหล่หมุนได้ เพื่อการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ แต่หากเมื่อไหร่ที่เกิดอาการเอ็นข้อไหล่บาดเจ็บหรือเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ก็อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและไม่สามารถยกแขนใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไป ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น อาจลงเอยด้วยการผ่าตัดได้ในที่สุด...”
ประโยชน์จากเทคโนฯ ก้าวหน้าทั้งตรวจ
-รักษา


ก่อนที่คุณหมอจะทำการรักษานั้นต้องตรวจร่างกายเบื้องต้นพร้อมกับสอบถามซักประวัติของอาการเจ็บป่วย เพื่อวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าอาการบาดเจ็บเป็นที่กระดูกหรือที่กล้ามเนื้อ ซึ่งการตรวจด้วยฟิล์มเอกซเรย์ก็จะช่วยให้ทราบว่ามีความผิดปกติที่กระดูกหรือไม่ แต่หากสงสัยว่าเป็นที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ หรือเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ก็จำเป็นต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมโดยใช้  “เทคโนโลยีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” หรือ MRI ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอมองเห็นร่องรอยการฉีกขาดของเส้นเอ็น หรือสภาพภายในหัวไหล่อย่างชัดเจน และเมื่อทราบที่มาสาเหตุของปัญหาแล้วก็จะวางแผนในขั้นตอนการรักษาได้อย่างถูกต้อง โดย “คุณหมอไกรพ” ได้อธิบายถึงการรักษากลุ่มผู้ป่วยที่ปวดข้อไหล่ว่าแบ่งออกเป็น 3-4 ระดับ อย่างแรกเลยคือ ให้“พักการใช้ไหล่” โดยอาจร่วมกับ การกินยา ซึ่งมีทั้งยาต้านการอักเสบ ยาลดปวด ยาคลายกล้ามเนื้อแล้วแต่ความเหมาะสม...อันดับต่อมาคือให้ “ทำกายภาพ” บริหารข้อไหล่ หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อไหล่ แต่หากผู้ป่วยได้กินยาแล้ว ทำกายภาพแล้วยังไม่หาย ก็จะใช้ “ยาฉีด” เพื่อลดการอักเสบที่ข้อไหล่ถ้ารอยโรคที่เกิดขึ้นนั้นไม่ค่อยมากนัก...


ส่วนอีกวิธีรักษาที่ต้องพิจารณาหลังจากได้ลองทำทั้ง 3 ขั้นตอนที่ว่านี้แล้วแต่ยังไม่เห็นผลก็ต้องอาศัยวิธี “การผ่าตัด” ซึ่งคุณหมอบอกว่าจะเลือกเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการรักษาข้อไหล่ ทั้งนี้ในกรณีของ “คุณทองสุข” หลังจากได้เข้ารับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI แล้วพบว่ามีเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่!!!... จึงจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ เพื่อรักษาให้หาย โดยที่ ศูนย์โรคปวดเข่า  รพ.ลานนาได้ใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องที่ข้อไหล่ให้กับผู้ป่วยรายนี้ และส่งผลให้มีการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อไม่มาก เพราะขนาดของแผลผ่าตัดคือ 3-4 มิลลิเมตร เพื่อสอดเครื่องมือและกล้องขนาดเล็กที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปบริเวณรอบ ๆ หัวไหล่เพื่อทำการผ่าตัดเข้าไปเย็บซ่อมเอ็น โดยดูรายละเอียดได้อย่างชัดเจนผ่านจอรับภาพที่ติดตั้งอยู่ภายนอกซึ่งเป็นเทคโนโลยีการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม

หมอจอแก้ว” ขอปิดท้ายด้วยถ้อยคำจาก “คุณทองสุข” เพื่อให้ท่านผู้อ่านชาวเชียงใหม่ และทุกจังหวัดได้มีข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์ในกรณีที่อาจเจอปัญหา “เอ็นหัวไหล่ฉีก” ขึ้นมาในอนาคตนะครับ
“...ผมพอใจกับการรักษาในครั้งนี้มากครับ และอยากจะบอกต่อถึงผู้ที่มีปัญหาเช่นเดียวกับผมว่า อย่ารอให้อาการหนัก ควรมาพบคุณหมอทันทีเมื่อมีอาการ หรือท่านใดที่มีอาการเรื้อรังมานานแล้ว  ถ้าคุณหมอให้ผ่าตัดรักษาก็อย่ากลัวเลยครับ เพราะการผ่าตัดเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่ “ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” ดังที่ผมไปรักษามาแล้วครับ”

รพ.ลานนา จ.เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยีส่องกล้องผ่าตัดมดลูก




ช่วยซับปัญหาน่าเห็นใจให้คุณผู้หญิง

ผ่านไป 2 เรื่องด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาจนก้าวไกลไปถึง 360 องศาก็คงไม่ผิด ซึ่งท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่าคนที่ได้รับประโยชน์มากกว่าใครก็คือ “ผู้ป่วย” ที่โดนฤทธิ์พิษภัยจากโรคภัยที่มาเล่นงานถึงกับต้องแบกทุกข์ทรมานด้วยรูปแบบต่าง ๆ ได้มีโอกาสต่อสู้กลับเป็นฝ่ายเอาชนะหรือมิฉะนั้นก็มีวิธีสกัดกั้นป้องกันให้รอดพ้นจากความป่วยไข้ได้ง่ายขึ้นกว่าผู้ป่วยในอดีต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัมพฤกษ์ อัมพาตจากเส้นเลือดตีบที่คอ หรือที่สมองก็ตามแต่...และแม้กระทั่งอันตรายจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ดูเหมือนจะผ่อนคลายความรุนแรงลงกว่าเดิมอย่างมากก็เพราะเทคโนฯ ก้าวหน้าทางการแพทย์นี่เอง...และที่ “หมอจอแก้ว” เตรียมมาเล่าสู่กันฟังอีกเรื่องก็คือกรณี “เนื้องอกในมดลูก” ซึ่งสร้างปัญหาที่น่าเห็นใจให้กับคุณผู้หญิงตลอดมาทุกยุคทุกสมัยเพราะเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคน โดยจะก่อให้เกิดอาการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด หรือชนิดของเนื้องอกในมดลูกของแต่ละรายทั้ง ๆ ที่เป็น “ส่วนเกิน” ของร่างกาย...และสุดท้ายก็ทำให้คุณผู้หญิงผู้โชคร้ายจำต้องโบกมืออำลามดลูกโดยให้คุณหมอผ่าตัดกำจัดออกไปทั้งอวัยวะที่มีติดตัวมารวมทั้งเจ้าส่วนเกินที่เพิ่งมางอกเงยขึ้นภายหลัง !!...


คุณสุภาพสตรีที่ต้องจำใจเข้ารับการผ่าตัดกำจัดปัญหาที่ว่านี้อีกรายคือ “คุณสุปราณี เรืองพรวิสุทธิ์” นักธุรกิจหญิงและคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแม้จะเป็นผู้มากความสามารถในแวดวงสังคมของจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไม่อาจรอดพ้นจากปัญหาดังที่ว่านี้ และสุดท้ายก็ตัดสินใจไปเข้ารับการรักษาปัญหาเนื้องอกในมดลูกที่ ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก มดลูก-รังไข่  โรงพยาบาลลานนา เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งประเด็นที่ “คุณสุปราณี” สรุปให้ฟัง คือ “...แม้จะทราบดีว่าปัญหาของมดลูกรังไข่เป็นปัญหาใกล้ตัวสำหรับผู้หญิงเรา แต่ก็ไม่คิดว่าจะได้มาประสบกับตนเอง เพราะเราก็เป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพไม่น้อยกว่าใคร และไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บถามหา เพราะตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งเนื้องอกในมดลูกของดิฉัน มันไม่ได้มีอาการแสดงให้เห็นมากนัก ดิฉันสังเกตตนเองจากเวลาปวดปัสสาวะ แล้วคลำท้องพบว่ามีก้อนแข็งๆ อยู่ที่ท้อง แรกๆ ก็คิดว่าธรรมดาไม่เป็นไร แต่พอเจอเข้าบ่อย ๆ ก็เริ่มสงสัยว่านี่ อาจจะไม่ใช่อาการทั่วไปแล้ว จึงได้ตัดสินใจ เข้าไปพบสูตินรีแพทย์ ที่โรงพยาบาลลานนา เพื่อตรวจวินิจฉัย หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการที่เกิดขึ้น”

เทคโนฯ การแพทย์ช่วยตรวจพบรักษาได้ไวขึ้น...

ถ้าจะว่าไปแล้วต้องบอกว่าถือเป็นโชคดีของคุณผู้หญิงในยุคสมัยนี้ที่เจอปัญหาอาการแบบเดียวกับ “คุณสุปราณี” เพราะอย่างที่ “หมอจอแก้ว” ขมวดไว้แล้วว่าถ้าเป็นกรณี “เนื้องอกในมดลูก” ละก็ ยังไงก็ต้องกำจัดด้วยการผ่าตัด  ซึ่งด้วยความก้าวหน้าในวงการแพทย์ยุคใหม่ทำให้ทั้งผู้ป่วยและคุณหมอผู้เป็นศัลยแพทย์มี “ทางเลือก” คือ...การใช้ “เทคโนโลยีส่องกล้องผ่าตัด” นอกเหนือจาก “การผ่าตัดแบบเดิมที่ใช้การเปิดหน้าท้อง”... ซึ่งก็ถือว่าเป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่ใช้กันตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เพียงแต่ต้องเปิดแผลใหญ่ที่หน้าท้องของผู้ป่วยและมีโอกาสกระทบกับอวัยวะอื่น ๆ ได้ง่าย ...



            ฉะนั้นหากเปรียบเทียบกับ “การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้อง” ก็จะมีส่วนช่วยลดความน่ากลัวไปได้ไม่น้อย อีกทั้งแผลผ่าตัดก็มีขนาดเล็ก ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้ไวและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้นโดยปราศจากแผลเป็นแนวยาวมารบกวนความรู้สึกของทั้งตัวเองและคนข้างเคียงอีกด้วย


นั่นคือประเด็นสำคัญที่สรุปจากคำอธิบายของ “พญ.รวีวรรณ คำโพธิ์”... แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวช ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก มดลูก-รังไข่ โรงพยาบาลลานนา ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเนื้องอกในมดลูกของคุณผู้หญิงด้วยว่า “...ปัจจุบันผู้หญิง 1 ใน 4-5 ราย ที่พบเนื้องอกในมดลูก ส่วนใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกมดลูกอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย ในรายที่มีอาการส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องน้อย มีเลือดออกผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ แท้งบุตร หรือมีบุตรยาก เป็นต้น โดยการตรวจ ในสมัยก่อนถ้าผู้ป่วยเป็นเนื้องอกมดลูกขนาดยังไม่ใหญ่มากนักก็จะตรวจไม่พบ แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า เราใช้การตรวจอัลตร้าซาวด์ ในการหาความผิดปกติในมดลูก...”

สำหรับกรณีของ “คุณสุปราณี” นั้น “คุณหมอรวีวรรณ” ได้อธิบายโดยสรุปถึงการตรวจวินิจฉัยหลังจากที่ซักประวัติแล้วได้จัดให้เข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์และพบว่ามีเนื้องอกทั้งหมด 3 ก้อน โดยที่ก้อนหนึ่งมีขนาดเกือบ 10 เซนติเมตร จึงได้แนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดนำเนื้องอกก้อนนี้ออกจากร่างกายของผู้ป่วยด้วย “เทคโนโลยีผ่าตัดแบบส่องกล้อง” ซี่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยลดขนาดของแผล เพิ่มความคมชัดแม่นยำในการผ่าตัด และที่สำคัญอีกอย่างคือ “ผลดีหลังการรักษา” ซึ่งคุณหมอจะเจาะรูขนาดเล็กประมาณ 0.5-1 ซม. ผ่านทางช่องท้องหรือผิวหนังใกล้อวัยวะที่ต้องการผ่าตัด จำนวน 1-3 รูสำหรับสอดเครื่องมือและกล้องขนาดเล็กเข้าไปส่งภาพกลับมาให้คุณหมอแลเห็นบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้จากหน้าจอรับภาพอย่างชัดเจน ทำให้การผ่าตัดมีความเที่ยงตรงและแม่นยำโดยไม่กระทบกับอวัยวะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเกิดได้จากการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง...นอกจากนี้ผู้ป่วยยังเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด โอกาสเกิดพังผืดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า...

เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลรอบด้าน “หมอจอแก้ว” จึงขออนุญาตเผยแพร่ความเห็นของฝ่ายผู้ป่วยซึ่งได้กล่าวไว้ภายหลังจากการผ่าตัดผ่านไปได้ระยะหนึ่งแล้ว โดย “คุณสุปราณี” ระบุว่า “...รู้สึกดีและพึงพอใจกับผลการรักษามากค่ะ เพราะทำให้เราไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลนาน ๆ ... เพียงหนึ่งวันหลังการผ่าตัดดิฉันก็สามารถปฏิบัติกิจส่วนตัวได้เป็นปกติ มีแค่อาการหน่วง ๆ แผลเล็กน้อยจากการผ่าตัด ซึ่งนอกจากจะไม่เจ็บตัวมากแล้ว แผลก็เล็กนิดเดียว เหมือนไม่ได้ผ่าตัดใหญ่มาเลยค่ะ เมื่อกลับบ้านก็ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมอ ไม่กี่สัปดาห์ดิฉันก็สามารถกลับไปทำงาน และทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเหมือนเดิมแล้วค่ะ...”

             ชัดเจนไหมครับสำหรับ “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์” ที่ ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก มดลูก-รังไข่  โรงพยาบาลลานนา ช่วยให้คนป่วยไม่ต้องหวาดระแวงกับทั้งกรณีความแม่นยำของการตรวจ-วินิจฉัย รวมไปถึงการผ่าตัดรักษาที่มีส่วนช่วยให้พ้นจากภาวะอาการจากโรคพภัยที่ต้องเผชิญได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิมแล้ว ยังสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้นอีกต่างหาก...พูดตรง ๆ ว่า “หมอจอแก้ว” รู้สึกดีใจกับคุณผู้หญิงชาวเชียงใหม่รวมทั้งในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งหากบังเอิญต้องไปเจอปัญหา “เนื้องอกในมดลูก” ก็มีโอกาสได้รับการตรวจ-รักษาด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้าทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปตรวจ-รักษาจากที่อื่น ๆ ดังเช่นเมื่อก่อนอีกแล้ว           


หมอจอแก้ว

‘นักกีฬาชาวเหนือ’ หมดห่วงกรณีปะทะทำเอ็นเข่าฉีก!! รพ.ลานนา จ.เชียงใหม่ ใช้เทคโนฯ ผ่าส่องกล้องแผลเล็กฯ





 สวมหัวใจสิงห์วิ่งเข้าสกัดบอล...ทำเอา เข่าบิด’!!!

องได้เข้าสู่การแข่งขันในตำแหน่งใดก็ไม่ได้ส่งผลให้นักกีฬาที่พกหัวใจเต็มร้อยลงสนามไปด้วยเป็นต้องสู้สุดฤทธิ์ด้วยกันทั้งในเกมรุกและรับ...เรื่อง “ปะทะ” ไม่ต้องห่วง...ถึงเวลาแล้วเป็นต้องลุยให้กระเจิงกันไปข้างหนึ่งโดยไม่มียอมถอยหรือปล่อยผ่านไปง่าย ๆ เด็ดขาด เพราะนอกจากต้องมุ่งไปให้ถึงดวงดาวแล้ว ยังมีโอกาสกลายเป็นฝ่ายตั้งรับซึ่งต้องรับบทป้องกันอีกเมื่อใดก็ยังไม่มีใครล่วงรู้...ดังนั้น “การบาดเจ็บจากการปะทะ” จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ไม่อาจเลี่ยงได้เลยสำหรับกีฬาประเภทที่ต้องฝ่าด่านผ่านคู่แข่งขันให้ได้จึงจะเก็บแต้มตุนไว้ได้!!!... “กีฬาฟุตบอล” น่าจะเป็นตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านผู้อ่านได้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งหากมีความชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ทุกลมหายใจเข้าออกเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็จะยิ่งได้เห็นนักฟุตบอลต้องลงนอนบิดตัวด้วยความเจ็บปวดอยู่ในสนามโดยเฉพาะเมื่อมีการปะทะอย่างรุนแรงกับผู้เล่นอีกฝ่าย…!!!

หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการปะทะที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งกีฬาอย่างฟุตบอลไม่ว่าจะเป็นใน “แมตช์” สำคัญระดับใดก็ตาม โอกาสที่จะเกิดแรงกระแทกและตามมาด้วยผลกระทบต่อ “หัวเข่า” ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เสมอ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เข่าบิดถึงกับทำเอา “เข่าบิด” และ “เอ็นไขว้หน้าเกิดการฉีกขาด” โดยไม่ได้คาดคิด...แน่นอนว่าหากเจอถึงขั้นนั้นก็ย่อมก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา และนักกีฬาที่บาดเจ็บต้องเสียโอกาสในการลงสนามอีกนานนับเดือน...หรือมิฉะนั้นอาจเป็นปีก็มี...ดังจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับ “คุณธีระเชษฐ์  ธนันชัย” ผู้มีใจรักในกีฬาฟุตบอลอย่างถอนตัวไม่ขึ้นรายหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ “คุณธีระเชษฐ์” ได้เปิดอกเล่าถึงเหตุที่ได้เจอมากับตัวเองว่า... “ระหว่างที่ผู้เล่นของอีกฝ่ายลำเลียงลูกเข้ามา ผมวิ่งเข้าสกัดอย่างเร็วโดยไม่ได้คิดว่าหัวเข่าจะไปกระแทกกับอีกฝ่ายอย่างแรงถึงกับได้ยินเสียงดังกึ๊ก...พร้อมกับมีอาการเจ็บแปล๊บที่หัวเข่าทันทีก่อนที่จะล้มลง ซึ่งหลังจากที่เพื่อน ๆ ได้ช่วยกันพยุงให้ลุกขึ้นไปพักที่ข้างสนามแล้วก็รู้สึกในตอนนั้นเลยว่าภายในหัวเข่าต้องมีอะไรบางอย่างฉีกขาดแน่นอน และรู้สึกว่าหัวเข่าของเราไม่มั่นคงเหมือนเดิมเสียแล้ว...แต่สิ่งที่ทำให้ผมต้องระวังมากขึ้นหลังจากผ่านวันนั้นแล้วไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน นอน หรือทำอะไรก็ต้องระวังตัวมากขึ้นเพื่อไม่ให้หัวเข่าบิดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ตลอดเวลา...กว่าจะเริ่มเข้าไปปรึกษาคุณหมออย่างจริงจังโดยหวังจะรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น เวลาก็ล่วงเลยไปประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ช่วยให้ทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นมีเหตุจากเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาเพื่อซ่อมเอ็นไขว้หน้าเข่าที่ฉีกขาดมานานแล้วนั่นเอง...”



ฝ่าด่าน “งานหิน” ด้วยเทคโนฯ ผ่าตัดผ่านกล้อง...
มื่อเห็นว่าจนแต้มโดยไม่อาจเลี่ยงการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแล้ว ทำให้ “คุณธีระเชษฐ์” ได้หันเข็มมุ่งหน้าไปที่  “ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” ด้วยความมุ่งหวังที่จะรักษาอาการให้หายเป็นปกติตามเดิม และได้พบกับ นพ.ภาสกร อุปโยคิน แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อประจำศูนย์ฯ จึงได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าโดยคุณหมออธิบายว่า “...การรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าที่ฉีกขาดส่วนใหญ่แล้ว จะไม่สามารถเย็บให้ไปติดกันใหม่ได้ จึงต้องสร้างเส้นเอ็นใหม่โดยแพทย์จะใช้เส้นเอ็นจากแหล่งของผู้ป่วยเอง คือ เอ็นสะบ้าติดกระดูก และ เอ็นจากกล้ามแฮมสตริง ซึ่งอยู่ด้านในของเข่า แต่ปัจจุบันนิยม เอ็นจากแฮมสตริง มากกว่าเพราะเอ็นสะบ้าอาจจะทำให้มีปัญหาในการใช้งานเข่าได้ในอนาคต โดยสามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ทั้งผ่าตัดแบบเปิดเข่า แต่ผลข้างเคียงหลังการรักษานั้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดมาก รวมทั้งกล้ามเนื้อรอบ ๆ หัวเข่าจะบอบช้ำจากการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานาน แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันได้มีส่วนช่วยให้ ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา สามารถใช้ เทคนิคการผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้า โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งจะส่งผลดีแก่ผู้ป่วยมากกว่าในอดีต...


ส่วนที่ว่าจะมี “ข้อดี” อย่างไรนั้น “คุณหมอภาสกร” ให้รายละเอียดว่า... “เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง จะมีข้อดีในแง่ที่ว่าแผลจากการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้มีขนาดเล็กลงจากการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ทั้งยังช่วยลดการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อ ส่งผลให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น และโอกาสเข่ายึดติดน้อยกว่า เพราะเหตุว่าเทคโนโลยีการผ่าตัดวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์มองเห็นพยาธิสภาพในข้อเข่าชัดเจนกว่าการผ่าตัดเปิดเข่าซึ่งมองด้วยตาเปล่า ส่วนเลนส์ในกล้องจะทำหน้าที่ขยายภาพไปปรากฏที่จอรับภาพ นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้องมีขนาดเล็ก สามารถสอดเข้าทำผ่าตัดในพื้นที่แคบ ๆ ในเข่าได้สะดวก อีกทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องยังช่วยให้แพทย์สามารถเย็บซ่อม หรือ...กรอ...หมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้นด้วย...

 คราวนี้ “หมอจอแก้ว” ขอพาท่านผู้อ่านไปดูกันว่า “คุณธีระเชษฐ์” รู้สึกอย่างไรหลังจากได้เข้ารับการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว... “ผมพอใจในการผ่าตัดครั้งนี้มากเนื่องจากไม่มีแผลผ่าตัดเป้นแนวยาวเหมือนที่เคยเห็นมาก่อน หลังผ่าตัดได้สองวันก็เริ่มเดินลงน้ำหนักได้บ้างแล้วและนอนพักที่โรงพยาบาล 3-4 วัน คุณหมอก็อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ โดยที่การรักษาเรื่องเอ็นไขว้หน้าเข่านั้นจำเป็นที่ผมจะต้องกลับมาฟื้นฟูร่างกายให้เส้นเอ็นฟื้นตัวก่อนกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้งหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว...ต้องขอขอบคุณ “คุณหมอภาสกร” รวมทั้งเจ้าหน้าที่ พยาบาลทุกท่านที่ดูแลผมตลอดการรักษาที่ โรงพยาบาลลานนาแห่งนี้ครับ”

15 พฤษภาคม 2562

ศูนย์โรคปวดเข่า รพ.ลานนา จัดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การป้องกันการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา และการรักษาโรคข้อและเข่า ด้วยการส่องกล้อง” และ “เตรียมตัวอย่างไร...ไปให้ถึงไตรกีฬามนุษย์เหล็ก Ironman World Championship”


           ศูนย์โรคปวดเข่า รพ.ลานนา จัดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การป้องกันการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา และการรักษาโรคข้อและเข่า ด้วยการส่องกล้อง” และ “เตรียมตัวอย่างไร...ไปให้ถึงไตรกีฬามนุษย์เหล็ก Ironman World Championship” ...

          ในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องเชียงแสน ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ (คุ้มขันโตก) ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา จัดงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2562หัวข้อการอบรมเรื่อง “การป้องกันการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา และการรักษาโรคข้อและเช่า ด้วยการส่องกล้อง” โดย นพ.ไกรพ วิวัฒนพณิชย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการส่องกล้องรักษาข้อต่อ และแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ประจำศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา และการสนทนาวิชาการ เรื่อง “เตรียมตัวอย่างไร...ไปให้ถึงไตรกีฬามนุษย์เหล็ก Ironman World Championship” ดำเนินรายการโดย ดีเจไอซ์ คุณปรัชญา กัณทวี ผู้ประกาศข่าว และ ผู้ดำเนินรายการวิทยุจราจร พร้อมกับแขกรับเชิญพิเศษ โปรอุ้ย ทัศวรรณ ศิริวงศ์ นักไตรกีฬาหญิง ระดับ IRONMAN WORLD CHAMPIONSHIP , คุณมลธิรา เอื้อประชานนท์ และ คุณศุภพงศ์ เชียรวิชัย นักไตรกีฬาระดับ IRONMAN โดยมี นพ.ศุภชัย สินไตรรัตน์ กรรมการบริหาร โรงพยาบาลลานนาเป็นประธานในงานสัมมนาวิชาการนี้ 

           ในส่วนของภาคบ่ายนั้น มีการบรรยายวิชาการในหัวข้อเรื่อง "เทคโนโลยีการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง และเครื่องใช้ไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด ” วิทยากรโดย คุณศิริรัตน์ กนกพารา หัวหน้าแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลานนา ที่มาพร้อมกับทีมนักกายภาพบำบัด ในการสอนฝึกปฏิบัติ “การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ป้องกันโรคข้อและเข่า" ให้แก่ผู้เข้าอบรม 

           วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อสังคม CSR ของโรงพยาบาลลานนา เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ผ่านการให้ความรู้ทั้งภาควิชาการและฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจัดต่อเนื่องมาประจำทุกปีปีละ ครั้ง และเพื่อเผยแพร่ศักยภาพของโรงพยาบาลลานนา ในการให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมทั้งช่วยเสริมสมรรถภาพทางกายด้านการกีฬา เพื่อให้สามารถเล่นกีฬาได้ดี และปลอดภัยมากขึ้น ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬา และศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งทีมนักกายภาพที่จะช่วยฟื้นฟูบำบัดหลังการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน

          ท้ายงานยังได้มีการจับรางวัล ลุ้นของขวัญสุดพิเศษจาก ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนาอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจากแขกผู้ร่วมงานจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศของการอบรมในครั้งนี้เต็มไปด้วยความอบอุ่น และได้รับการตอบรับอย่างดี จากตัวแทนของสถานประกอบการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน รวมถึงผู้ที่สนใจในเรื่องของกีฬาจำนวนมากอีกด้วย



















10 พฤษภาคม 2562

โรงพยาบาลลานนา รับรางวัลสตรีดีเด่น ประจำปี 2562

โรงพยาบาลลานนา รับรางวัลสตรีดีเด่น ประจำปี 2562: 



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่
จัดงานมอบโล่รางวัลสตรีดีเด่นฯ ในวันแรงงานแห่งชาติ โดยมีนางปัทมา เอี่ยมสุวรรณ นายกเหล่ากาชาด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานมอบโล่รางวัล รางวัลสตรีดีเด่น จังหวัดเชียงใหม่ และในครั้งนี้นางจิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนกสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลลานนา ( บมจ.เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ ) ได้รับ 2 รายการ คือโล่รางวัลสตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น สาขาสตรีผู้ปฏิบัติการภาคเอกชนดีเด่น เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2562 จากจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ และ ใบประกาศเกียรติคุณ จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประเภทสตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น สาขาสตรีผู้ปฏิบัติการภาคเอกชนดีเด่น สถานประกอบการขนาดใหญ่ จัดขึ้น ณ วัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาล) ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่










📌 📌 📌ไม่พลาดทุกข่าวสารน่ารู้ จาก #โรงพยาบาลลานนา
ติดตาม ไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40lannahospital
เพิ่มเพื่อน www.facebook.com/lannahospital.cm
กดไลค์เพจ www.facebook.com/lannahospital
อย่าลืมกดเลือก  #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst กันด้วย 😊 😊 😊