โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

30 เมษายน 2564

โรงพยาบาลลานนา รับการตรวจรับรองมาตรฐานศูนย์ไตเทียม ประจำปี 2564


เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ณ แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ ... นพ.ศุภชัย สินไตรรัตน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา 2 พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร และทีมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพแผนกไตเทียม ให้การต้อนรับ คณะอนุกรรมการฯ นำโดย คุณชัญญาภัค บุณยรัตนิน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยคณะทำงานจาก กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข ในโอกาสที่ได้เข้ามาตรวจรับรองมาตรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมของ แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลานนา ประจำปี 2564 เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโรคไต โดยมี พญ.ทิชานันท์ ณรงค์ชัย อายุรแพทย์โรคไต ประจำศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลลานนา 2 และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม คอยดูแลในการฟอกไตสำหรับผู้รับบริการอย่างใกล้ชิด

โดย ศูนย์ไตเทียม รพ.ลานนา จ.เชียงใหม่ เปิดบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สำหรับผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่ได้มาตรฐานสากลพร้อมระบบน้ำบริสุทธิ์สำหรับการฟอกไต (R.O.) ในห้องที่สะอาด สะดวกสบาย และดูแลกันแบบคนในครอบครัว ให้บริการฟอกไตถึง 12 เตียง และขยายการให้บริการเป็น 3 รอบต่อวัน รองรับผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มมากขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง

อย่างไรก็ตาม หากท่านประสบปัญหาโรคไต หรือมีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ หรือนัดคิวเพื่อทำการล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม ได้ที่ ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลลานนา โทร.052-134-777






โรงพยาบาลลานนา 3 รับการตรวจประเมินสถานพยาบาล พร้อมเปิดให้บริการประชาชนชาวเชียงใหม่ และภาคเหนือ



เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ณ โรงพยาบาลลานนา 3 : นพ.ธีระยุทธ นิยมกูล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา 3 และ นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา พร้อมทีมเจ้าหน้าที่ พยาบาล และหัวหน้าแผนกต่างๆ ให้การต้อนรับ นางชัญญาภัค บุณยรัตนิน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วยคณะทำงานจาก กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข และ ทีมตรวจประเมินสถานพยาบาล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข จาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสที่ได้เข้ามาตรวจประเมินมาตรฐาน และความพร้อมในการขออนุมัติใช้อาคารเปิดเป็นสถานพยาบาลแห่งใหม่ ประเภทสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จากเดิมที่ได้ยื่นแผนงาน และแบบแปลนการก่อสร้าง อาคารสถานพยาบาลแห่งใหม่ ในซอยสุขเกษม ชื่อว่า โรงพยาบาลลานนา 3 ไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยขอจัดตั้งเป็น สถานพยาบาลขนาดใหญ่ ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จำนวน 120 เตียง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องไม้ เครื่องมือ ทางการแพทย์   และทีมงาน บุคลากรแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกแผนก และระบบสนับสนุน ต่างๆครบถ้วน ตามมาตรฐานสถานพยาบาล   พร้อมในการเปิดให้บริการประชาชนชาวเชียงใหม่ และภาคเหนือ เร็วๆ นี้




โรงพยาบาลลานนา 3 แห่งนี้  หากเปิดให้บริการแล้ว จะบริหารงานโดยทีมผู้บริหาร จากโรงพยาบาลลานนา   ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในจังหวัดเชียงใหม่  เป็นหนึ่งในโรงพยาบาล ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เป็นโรงพยาบาลเอกชนคู่สัญญาประกันสังคม ที่มีผู้ประกันตนให้ความไว้วางใจเลือกเป็นสถานพยาบาลหลักมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ถึง 150,000คน เต็มจำนวนแล้วในขณะนี้ โดยในแต่ละวันมีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการกว่า 2,000 คนต่อวัน  ทำให้สถานที่โรงพยาบาลลานนาเดิม เริ่มคับแคบไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย และผู้ที่อยากเลือกโรงพยาบาลลานนา เป็นสถานพยาบาลหลักของประกันสังคม  คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลลานนา จึงมีความเห็นชอบร่วมกันให้ดำเนินการก่อสร้าง โรงพยาบาลลานนา 3 ภายในซอยสุขเกษม เพื่อขยับขยายพื้นที่ให้บริการให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมรองรับผู้ใช้บริการทั้งชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง









28 เมษายน 2564

นึกไม่ถึงว่า “มัจจุราชเงียบ” เล่นงาน ผู้ป่วยแฉนาที “เฉียดตาย” รพ.ลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนฯ ขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านข้อมือไม่ผ่าตัด


นึกไม่ถึงว่า “มัจจุราชเงียบ” เล่นงาน ผู้ป่วยแฉนาที “เฉียดตาย”
รพ.ลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนฯ ขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านข้อมือไม่ผ่าตัด

เกิดอาการทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีประวัติโรคหัวใจ!!

าการเจ็บหน้าอกแบบแน่น ๆ...จุกเหมือนมีอะไรมากดทับที่หน้าอกด้านซ้ายค่อนมาตรงกลางเกิดขึ้นกับ “คุณสัมฤทธิ์  ใจมา” ชาวเชียงใหม่วัย 51 ปี โดยที่เจ้าตัวไม่เคยมีประวัติการป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยเกิดความผิดปกติให้สังเกตได้แม้แต่อย่างเดียว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป จนกระทั่งเกิดอาการอย่างที่เกริ่นนำไว้ตอนแรกและหนักขึ้น จนสุดทน โชคดีที่ญาติรีบนำส่งไป “โรงพยาบาลลานนา” และได้รับการตรวจ-รักษาทันการจึงรอดพ้นอันตรายจากภาวะ “หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” อย่างหวุดหวิด โดย “คุณสัมฤทธิ์” ได้เผยถึงประสบการณ์ครั้งนี้ว่า

“...ไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไรให้เราสังเกตได้ ยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป จนมาเมื่อช่วงต้นปีนี้ผมได้ไปช่วยงานยกของซึ่งต้องออกแรงเยอะจนรู้สึกปวดชาตามลำตัว แต่ก็คิดว่าคงมาจากการยกของหนักจนกล้ามเนื้ออาจจะอักเสบทำให้มีอาการเจ็บปวดตามมา ซึ่งผมได้หาทางบรรเทาอาการของตัวเองด้วยการซื้อยาหม่องมาทา ซื้อยาหอมมาทาน แต่อาการไม่ได้ดีขึ้น และยังคงมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ก็ปล่อยไว้โดยไม่คิดอะไรมากจนถึงวันที่เข้ามาทำธุระในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมเริ่มมีอาการชาบริเวณเดิม มีแน่นหน้าอกด้วย ซึ่งก็ใช้ยาบรรเทาอาการเรื่อยมา แต่แม้ว่าเวลาจะผ่านไปอาการที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย แถมยังรู้สึกว่าเป็นหนักมากขึ้นอีกด้วย จนต้องขอให้ญาติพาไปส่งที่โรงพยาบาลลานนา เพื่อให้คุณหมอหาสาเหตุให้ได้โดยเร็ว และเมื่อถึงโรงพยาบาลก็ได้เข้าห้องฉุกเฉิน โดยที่ขณะนั้นผมก็รู้สึกว่าอาการแย่ลงไปทุกที ยิ่งขยับตัวก็ยิ่งแน่นหน้าอก เริ่มหายใจไม่ออก รู้สึกไม่ดีเป็นอย่างมาก...”

ใครไม่เคยเจอประสบการณ์แบบเดียวกับผู้ป่วยรายนี้มาก่อนก็อาจไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ดีไม่ดีก็อาจเรียกใครมาช่วยบีบนวด เพื่อให้อาการแน่นหน้าอกทุเลาเบาบางลง...เพราะฉะนั้นต้องติดตามเรื่องราวที่เกิดกับผู้ป่วยชาวเชียงใหม่รายนี้ต่อไปนะครับ จะได้เป็นอุทาหรณ์สอนตัวเองและคนข้างเคียงเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า

รักษาโดยแพทย์เฉพาะทางฯ-มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ
ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือ

ลังจากที่ โรงพยาบาลลานนา” ได้รับตัวผู้ป่วยรายนี้แล้วคุณหมอได้ทำการตรวจวินิจฉัยกราฟการเต้นหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และพบความผิดปกติบางอย่างจึงส่งไปเข้ารับการตรวจโดย “นพ.รัตนชัย ชาญชัย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจประจำ “ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา” และหลังจากตรวจเบื้องต้นแล้วคุณหมอสงสัยว่าผู้ป่วยจะมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จึงได้รีบนำเข้าห้องปฏิบัติการสวนหัวใจเพื่อฉีดสีประเมินดูว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันในตำแหน่งใด ซึ่งผลตรวจก็เป็นไปตามคาดคือผู้ป่วยมีภาวะ “หลอดเลือดหัวใจตีบและตัน” อันเป็นที่มาของการเกิดอาการดังกล่าว และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงแก่ผู้ป่วยในที่สุด ทั้งนี้ “คุณหมอรัตนชัย” ได้แนะนำ “คุณสัมฤทธิ์” พร้อมกับอธิบายถึงขั้นตอนการให้รักษาด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือดังนี้

“...แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ จะทำการใส่สายท่อนำร่องขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดแดงผ่านทางข้อมือของผู้ป่วย แล้วใส่สวนท่อเข้าไปตามหลอดเลือดไปถึงตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจ ฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจหาตำแหน่งที่ตีบ-ตัน การรักษาจะเหมือนกัน เป็นการใส่ลวดเส้นเล็กๆ ผ่านจุดตีบ-ตัน ตามด้วยบอลลูนก็ต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ มักจะใช้โครงขดลวดเล็กๆ ที่เรียกว่า stent ตามไปยึดตรึงติดกับผนังหลอดเลือด เพื่อขยายหรือทำให้หลอดเลือดหัวใจบริเวณที่ตีบถ่างออก และป้องกันไม่ให้ตีบซ้ำ ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น”

ซึ่งเทคนิคการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือ จะมีความปลอดภัยกว่าการสอดเข้าทางขาหนีบ เนื่องจากหลอดเลือดอยู่ตื้น ไม่มีอวัยวะใกล้เคียงที่มีโอกาสบาดเจ็บ และแพทย์สามารถทำการหยุดเลือดหลังจากเอาอุปกรณ์ออกได้ง่ายกว่า โดยมีแผลขนาดเล็กมากที่บริเวณข้อมือ  ผู้ป่วยไม่ต้องนอนขาเหยียดตรงหลายชั่วโมง หลังทำการตรวจและรักษาสามารถลุกเข้าห้องน้ำ และนั่งรับประทานอาหารได้ทันที จึงทำให้ระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้น และกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติได้ไว

ผู้ป่วยเผย...การรักษาไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ระเด็นที่ คุณสัมฤทธิ์” ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่โชคดีได้เปิดใจกล่าวถึงหลังการรักษาก็คือ

“...ครั้งแรกที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคหัวใจ ก็แอบใจหายไปบ้าง เพราะเราไม่ทราบเลยว่าตัวเองมีภาวะนี้แฝงอยู่ แถมยังมารักษาแบบผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินอีกด้วย หากไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาลลานนา ก็อาจจะมีอันตรายมากกว่านี้ก็เป็นได้ โดยการรักษาโรคหัวใจด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านข้อมือของผมในครั้งนี้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดไว้เลย เพราะผมรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาการรักษา และใช้เวลาไม่นานเลย ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการมาโรงพยาบาลในครั้งนี้เอง ทำให้ผมต้องตระหนักถึงเรื่องของสุขภาพให้มากขึ้น และคงต้องลด ละ เลิก ความเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นตัวการให้ผมต้องเจอปัญหาของโรคหัวใจ ทั้งการดื่มเหล้าเบียร์ การสูบบุหรี่ รวมทั้งการทานอาหาร และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคหัวใจกลับมาหาผมอีกครั้งหนึ่ง...ซึ่งผมต้องขอขอบคุณ คุณหมอรัตนชัย ชาญชัย และเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา ทุกท่านที่ได้ดูแลผมระหว่างเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาครับ...”

ก็ต้องถือว่า “โล่งอก” อย่างทั่วถึงกันหลังจากที่ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวรอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของ “มัจจุราชเงียบ” ที่มาเล่นงานจนเกิดการอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหากเกิดภาวะอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการข้างเคียงเสริมเข้ามาอีกโดยไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิด “ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” ซึ่ง “หมอจอแก้ว” ขอเตือนไว้เลยว่าไม่ใช่ทุกคนนะครับที่จะโชคดีเหมือนกรณีของ “คุณสัมฤทธิ์” ซึ่งได้เจอกับตัวเองและพ้นน้ำมือของโรคนี้ได้อย่างหวุดหวิด และนำประสบการณ์มาถ่ายทอดไว้ในกรณีที่อาจเกิดกับคนอื่น ๆ ซึ่งทางที่ดีต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่มีศักยภาพและความพร้อมโดยเร็วเป็นดีที่สุดครับ




27 เมษายน 2564

ประกันสังคม เชียงใหม่ ร่วมโรงพยาบาลลานนา “ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อผู้ประกันตน” มาตรา 33, 39 และ 40 ของทุกโรงพยาบาล สามารถมารับการตรวจโควิด-19 ได้แล้ว ที่โรงพยาบาลลานนา (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)




ประกันสังคม เชียงใหม่ ร่วมโรงพยาบาลลานนา ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผู้ประกันตน”

เปิดให้บริการแล้ววันแรก  ... “ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผู้ประกันตน” โดยโรงพยาบาลลานนา  สำหรับผู้มีสิทธิ์ประกันสังคม มาตรา 33, 39 และ 40 ของทุกโรงพยาบาล สามารถมารับการตรวจโควิด-19 ได้แล้ว ที่โรงพยาบาลลานนา (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) โดยหากท่านมีความเสี่ยง ไข้ ไอ เจ็บคอ ตามเกณฑ์สาธารณสุข หรือมีผู้ติดเชื้ออยู่ในที่ทำงานของท่าน สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่  ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผู้ประกันตน  ณ บริเวณเต้นท์ให้บริการหน้าอาคาร C ระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 15 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. เป็นต้นไป



โครงการนี้ดำเนินการ สืบเนื่องมาจากวันที่ 17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา  นพ.ธีระยุทธ นิยมกูล รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา ได้ให้การต้อนรับ คุณจินดา พิชญ์ชานน ประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่  พร้อมด้วยคณะทำงานจาก สำนักงานประกันสังคม จ.เชียงใหม่ ในโอกาสที่ได้เข้ามาดูสถานที่ และประชุมหารือ เตรียมความพร้อม เพื่อรองรับผู้ประกันตนทุกมาตรา ทุกโรงพยาบาล ที่จะมาคัดกรองและตรวจหาเชื้อ Covid-19 ในโครงการ “ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผู้ประกันตน” ให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์เชิงรุก (Active case finding) เพื่อการค้นหาผู้ประกันตน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ในสถานประกอบการ สำหรับจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามระดับความรุนแรง โดยโรงพยาบาลลานนา เป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาประกันสังคม ที่มีผู้ประกันตนสูงสุดในจังหวัดเชียงใหม่ถึง 150,000 คน และมีความพร้อมมาก ในการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมในด้านสถานที่ ทีมงานบุคลากร และความพร้อมของห้องปฏิบัติการที่สามารถทำแลปตรวจPCRหาเชื้อโควิด19ได้เอง รู้ผลภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น 



สำหรับท่านผู้มีสิทธิ์ประกันสังคม สนใจตรวจโควิด-19  ในโครงการ “ศูนย์คัดกรองไวรัสโคโรนา 2019  เพื่อผู้ประกันตน” สามารถลงทะเบียนจองสิทธิผ่านระบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง QR CODE และผ่านทาง เว็บไซด์ http://www.lanna-hospital.com/activecasefinding/reg/

ประกันสังคม ห่วงใยผู้ประกันตน ตรวจหาเชื้อโควิดมั่นใจ โรงพยาบาลลานนา ...
โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.
052-134-777 กรณีตรวจแบบหมู่คณะ ติดต่อ แผนกสื่อสารการตลาด โทร.052-134-786










 

8 เมษายน 2564

โรงพยาบาลลานนา รับวัคซีนโควิด-19 เพื่อฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด่านหน้า

 

วัคซีนโควิด19 ถึงโรงพยาบาลลานนาแล้ว .. โรงพยาบาลลานนา จะเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID 19 รอบแรก ให้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด่านหน้า ที่ได้ติดต่อประสานงานให้บริการผู้ป่วย จำนวน 240 คน ของโรงพยาบาลลานนา  ตามที่ได้รับจัดสรรมา จากโรงพยาบาลนครพิงค์  ซึ่งรอบนี้เป็นวัคซีน COVID 19 ของบริษัท Sinovac  

โดยการฉีดครั้งนี้เป็นไปตามแผน ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะฉีดวัคซีน COVID 19 ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะฉีดในกลุ่มเสี่ยงรอบแรก ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 6 กลุ่มโรค ซึ่งจะเป็ฯไปตามการจัดสรรต่อไป






โรงพยาบาลลานนา ฉีดวัคซีน COVID 19 ล็อต 2 เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์

 

วันที่ 7 มีนาคม 2564 โรงพยาบาลลานนา เริ่มทยอยฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID 19 รอบแรก ให้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด่านหน้า ที่ได้ติดต่อประสานงานให้บริการผู้ป่วย จำนวน 240 คน ตามที่ได้รับจัดสรรมา จากโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งรอบนี้เป็นวัคซีน COVID 19 ของบริษัท Sinovac การฉีดครั้งนี้เป็นไปตามแผน ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะฉีดวัคซีน COVID 19 ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนเมษายน 64 จำนวน 10,000 คน ให้แล้วเสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์ โดยจะฉีดในกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 6 กลุ่มโรค ประชาชนทั่วไป และแรงงานเน้นในกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น



โดยแผนกระจายการฉีดวัคซีน COVID 19 ของจังหวัดเชียงใหม่นี้ จะกระจายออกไปฉีดในโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัด และโรงพยาบาลรัฐทุกอำเภอ สำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนนี้จะมีการแจ้งล่วงหน้า และต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Line Official Account “หมอพร้อม” เพื่อจองวัน เวลา และสถานที่ฉีดของตนเอง