โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

27 สิงหาคม 2564

โรงพยาบาลลานนา 3 เปิดให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม”



    โรงพยาบาลลานนา3 หน่วยฉีดวัคซีนตัวเลือก #ซิโนฟาร์ม ทั้งประชาชนทั่วไป และรอบหน่วยงานองค์กร
จากสถานการณ์โควิดระบาดในขณะนี้ ประชาชนชาวเชียงใหม่ มีความต้องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดจำนวนมาก #โรงพยาบาลลานนา ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่รับเป็นหน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้บริการแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ ทั้งวัคซีนจากการจัดสรรของภาครัฐ รวมทั้งวัคซีนทางเลือกยี่ห้ออื่นๆ และยังได้ขึ้นทะเบียนกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถานพยาบาล ที่ให้บริการฉีดวัคซีน #ซิโนฟาร์ม ให้แก่ประชาชนทั่วไป และหน่วยงาน หรือองค์กร

    จากสถานการณ์โควิดระบาดในขณะนี้ ประชาชนชาวเชียงใหม่ มีความต้องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดจำนวนมาก #โรงพยาบาลลานนา ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่รับเป็นหน่วยฉีดวัคซีนป้องกัน
โควิด-19 ให้บริการแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ ทั้งวัคซีนจากการจัดสรรของภาครัฐ รวมทั้งวัคซีนทางเลือกยี่ห้ออื่นๆ และยังได้ขึ้นทะเบียนกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถานพยาบาล ที่ให้บริการ
ฉีดวัคซีน #ซิโนฟาร์ม ให้แก่ประชาชนทั่วไป และหน่วยงาน หรือองค์กร



    

    ขณะนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้นำเข้า #วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ขอรับการจัดสรร พื้นที่โรงพยาบาลลานนาเดิมเริ่มคบแคบไม่เพียงพอ
ต่อการให้บริการลูกค้าแล้ว จึงตัดสินใจย้ายมาเปิด
#โรงพยาบาลลานนา3 เพื่อให้บริการ โดยคาดว่า
จะสามารถรองรับผู้มารับบริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม
ได้มากถึงวันละ 800 คน

.




    สำหรับจุดบริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม #โรงพยาบาลลานนา3 ได้จัดเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนไว้ ณ บริเวณแผนกผู้ป่วยนอก ชั้น 1 เนื่องจากมีอาคารสถานที่ค่อนข้างกว้างขวาง จึงสามารถเตรียมการ Social Distancing ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และมีมาตรการคัดกรองอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดให้บริการแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือในทุกจุดของการให้บริการฉีดวัคซีน พร้อมมีการแยกจุดบริการอย่างชัดเจน ทั้งส่วนของประชาชนทั่วไป และส่วนของหน่วยงานองค์กร จากนั้นจะมีการแจกบัตรคิว เพื่อให้ผู้รับบริการเข้ารับการฉีดวัคซีนตามลำดับ





โดยการฉีดวัคซีนที่ #โรงพยาบาลลานนา 3 นี้ เราจะให้ผู้รับบริการฉีดวัคซีนจะนั่งอยู่กับที่ ณ จุดรอฉีดวัคซีน จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ พยาบาล เป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้มารับวัคซีนเอง ตั้งแต่การวัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการ 30 นาที หลังฉีดจนเสร็จ โดยผู้รับบริการไม่ต้องเดินไปตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการในการเข้ารับการฉีดวัคซีน
.




#โรงพยาบาลลานนา3 จะเปิดให้บริการฉีดวัคซีน #ซิโนฟาร์ม ทั้งรอบประชาชนทั่วไป และรอบหน่วยงานองค์กร วันละ 800 คน เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. คิดค่าบริการฉีดคนละ 500 บาท
( 2 เข็ม ) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จอดรถจำนวน มากถึง 1,000 คัน รองรับผู้รับบริการที่มากขึ้น

.



#โรงพยาบาลลานนา ขอขอบคุณพี่น้องชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงทุกท่าน ที่ให้ความไว้วางใจ เลือกโรงพยาบาลลานนาเป็ฯหน่วยฉีดวัคซีน และให้เราได้ดูแลสุขภาพของท่าน ให้เป็นโรงพยาบาลของครอบครัว รวมทั้งเป็นสถานพยาบาลหลักประกันสังคม ซึ่งในวันที่ 1 กันยายน 2564 นี้ เราก็มีแผนจะย้าย#แผนกผู้ป่วยนอกประกันสังคม #โรคเรื้อรัง มาให้บริการที่โรงพยาบาลลานนา 3 เป็นอันดับต่อไป จึงขอเรียนมาเพื่อทราบ ณ ที่นี้




.📌 📌 📌 ไม่พลาดทุกข่าวสารน่ารู้ จาก #โรงพยาบาลลานนา
ติดตาม ไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40lannahospital
เพิ่มเพื่อน www.facebook.com/lannahospital.cm
กดไลค์เพจ www.facebook.com/lannahospital
อย่าลืมกดเลือก ⭐️ #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst กันด้วย 😊 😊 😊 



21 สิงหาคม 2564

รพ.ลานนา ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์ม

 



    โรงพยาบาลลานนา ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” พระราชทาน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้คนพิการคนตาบอด เร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้พิการ . เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ... นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา , ว่าที่ ร.อ. กิร วัฒนกิตติ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ และ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.เชียงใหม่ ร่วมกันเปิดกิจกรรมฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” พระราชทาน โดยได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้แก่ประชาชนกลุ่มคนพิการ จำนวนทั้งสิ้น 51 คน ณ หน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโรควิด-19 ชั้น 1 อาคาร B โรงพยาบาลลานนา


กิจกรรมฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” พระราชทาน ได้รับการสนับสนุนจัดสรรโควตาวัคซีนโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผ่านการประสานงานจาก ว่าที่ ร.อ. กิร วัฒนกิตติ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ ในการดำเนินการจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์ม ให้แก่สมาคมคนตาคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 51 คน แยกเป็นดังนี้ 

1). กลุ่มคนตาบอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 37 คน 2). กลุ่มคนเปราะบางจำนวน 2 คน3). กลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจากชมรมทูตอารยสถาปัตย์ จ.เชียงใหม่ จำนวน 12 คน ที่จัดหาวัคซีนเองและประสานงานผ่านทางสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.เชียงใหม่


ในการประสานงานกับโรงพยาบาลลานนา ให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน . โดยโรงพยาบาลลานนา ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่รับเป็นหน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้บริการแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ จึงได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ร่วมเป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ให้แก่ผู้พิการในครั้งนี้ โดยได้จัดเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนไว้ ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร B โดยผู้รับบริการฉีดวัคซีนนั่งอยู่กับที่ ตั้งแต่เริ่มต้นลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน 




 วัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการ 30 นาที หลังฉีดจนเสร็จ ไม่ต้องเดินไปตามจุดต่าง ๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ พยาบาล และแพทย์ เป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้มารับวัคซีนเอง ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการในการเข้ารับการฉีดวัคซีน




 พร้อมกันนี้ยังได้รับความร่วมมือจากจิตอาสา ตำรวจภูธร จ.เชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนไอศกรีมนมแพะ เพื่อแจกให้กับผู้พิการสำหรับกิจกรรมนี้ . โรงพยาบาลลานนา หวังว่าการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มคนพิการเหล่านี้ จะเป็นการช่วยเหลือสำหรับกลุ่มผู้พิการได้เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคไม่ให้เกิดความรุนแรง 





โดยหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ก็ขอให้ทุกท่านยังคงรักษาระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย และตนขอให้ทุกคนอยู่ด้วยความไม่ประมาท ขอให้ปลอดภัยทุกท่านครับ . .ไม่พลาด




ทุกข่าวสารน่ารู้ จาก #โรงพยาบาลลานนา ติดตาม ไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40lannahospital เพิ่มเพื่อน www.facebook.com/lannahospital.cm กดไลค์เพจ www.facebook.com/lannahospital อย่าลืมกดเลือก  #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst กันด้วย 

18 สิงหาคม 2564

นิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูปทำเสียการทรงตัวระวังสะดุดล้ม!! แพทย์ด้านข้อเท้า รพ.ลานนา ชี้ก่อปัญหาให้ผู้ป่วย รักษาได้ด้วยการ “ผ่าตัด”



ปล่อยไว้จนก่อปัญหาเมื่อวัย 38...ใช้ “ตัวช่วย”ก็ไม่ได้ผล...

าดูกรณีของคุณผู้หญิงชาวเชียงใหม่รายหนึ่งซึ่งแม้แต่เจ้าตัวเองก็ยอมรับว่าไม่คาดคิดเลยว่าจะต้องมาเผชิญปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ตอนที่มีวัยได้ 38 ปีโดยเฉพาะเวลาเดิน ซึ่งมักจะเสียการทรงตัวถึงขนาดว่าสะดุดล้มเอาง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่สุขภาพก็ยังเป็นปกติดี แต่เหตุที่ทำให้ “คุณเกษริน เรือนสุวรรณ” หมดความสุขจนได้นั้น เรื่องของเรื่องเกิดจาก “ภาวะนิ้วเท้าเอียงผิดรูป” ที่เป็นมาแต่เล็กแต่น้อย ซึ่งเจ้าตัวเผยว่า

“...กระดูกบริเวณนิ้วเท้าปูดออกมาให้เห็นเล็กน้อยทำให้นิ้วโป้งเท้าดูเอียง ๆ  แต่ก็ไม่มากนักจึงสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติเรื่อยมาโดยไม่รู้สึกถึงปัญหาใด ๆ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้สังเกตเห็นว่านิ้วเท้าที่เอียงออกมานั้นเอียงมากขึ้น จากที่มีอาการเจ็บปวดบ่อย ๆ เฉพาะเวลาเดิน ก็เริ่มมีอาการปวดอยู่ตลอด แม้ในตอนที่นั่งอยู่เฉยๆ ยิ่งในเวลาเดินก็จะมีปัญหาสะดุดล้ม รวมทั้งบางครั้งจะมีปัญหาการทรงตัวจนรู้สึกว่าชักจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ดิฉันจึงได้หาทางทุเลาอาการด้วยการใส่อุปกรณ์ทำจากซิลิโคนมาช่วยถ่างนิ้วโป้ง อีกทั้งยังไปหารองเท้าที่เหมาะสมมาใส่โดยหวังว่าจะบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นแต่ก็ช่วยได้นิดหน่อย ยังมีอาการอยู่ตลอดจนทนไม่ไหว ต้องไปปรึกษาคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านเท้า โรงพยาบาลลานนา เพื่อหาทางรักษาให้เร็วที่สุดค่ะ...”

“หมอจอแก้ว” จะพาท่านผู้อ่านไปติดตามรายละเอียดในกรณีของ “คุณเกษริน” ซึ่งได้รับการดูแลโดย “นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้า” ประจำ “ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” เพื่อจะได้ทราบว่าที่มาสาเหตุและวิธีการตรวจรักษาเพื่อแก้ปัญหาอาการป่วยด้วยภาวะดังกล่าวนี้สำเร็จลุล่วงไปอย่างไร


ใครเจอภาวะเดียวกันนี้...ควรปรึกษาคุณหมอโดยเร็ว!!

ลักษณะของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนปลายของ “คุณเกษริน” นั้น “คุณหมอปรัชวาล” อธิบายสรุปภาวะอาการที่สร้างปัญหาให้กับผู้ที่เผชิญภาวะของโรคนี้หลังจากที่วัน-เวลาได้ผ่านไปแล้วหลายปี 

“... ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป (Hallux Valgus) หรือภาวะนิ้วโป้งเท้าเก โดยที่นิ้วหัวแม่เท้าจะเอียงเข้าหานิ้วชี้ และมีกระดูกหัวแม่เท้าทางด้านในนูนออกมา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และอีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นรองเท้าที่มีรูปทรงบีบรัดปลายเท้า ประมาณรองเท้าส้นสูงปลายแหลมอะไรทำนองนั้นทำให้พบโรคนี้บ่อยในผู้หญิง แต่นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น...การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ... อาการในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่ผู้ที่เจอภาวะนี้อาจสังเกตเห็นนิ้วเท้าตัวเองเอียงไม่สวยงาม  หรือบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งหากสังเกตที่เท้าจะเห็นว่ามีเหมือนปุ่มกลม ๆ นูนออกมาทางด้านข้างของบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า โดยที่ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้าที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนิ้วเท้าเอียงจะทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่างๆ ของนิ้วเท้าผิดแนวไป จึงเป็นส่งผลให้เกิดการผิดรูปและเกิดความเจ็บปวดในที่สุดครับ...”

 หลังจากได้พูดคุยสอบถามอาการและประวัติการรักษาตัวจากผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะนิ้วเท้าเอียงที่เกิดขึ้นแล้ว คุณหมอได้ส่งตัว “คุณเกษริน” ไปเอกซเรย์เพื่อหาความผิดปกติของกระดูกเท้าที่เกิดขึ้น และได้เริ่มรักษาเบื้องต้นด้วยการแนะให้ปรับพฤติกรรมการเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสมที่มีขนาดพอดีเท้า...ไม่คับ...หัวรองเท้ากว้างที่เวลาสวมใส่จะสามารถขยับนิ้วเท้าได้โดยไม่บีบรัดนิ้วเท้า... มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม... แต่ก็ช่วยได้เพียงแค่บรรเทาอาการเบื้องต้นเท่านั้น... ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริงจากผลการศึกษายังไม่พบว่า การรักษาโดยไม่ผ่าตัดจะสามารถทำให้นิ้วเท้ากลับมาตรงได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้ป่วยรายนี้ได้เกิดอาการปวดและข้อนิ้วเท้าผิดรูปมาก...ด้วยเหตุนี้ “คุณหมอปรัชวาล” จึงแนะนำผู้ป่วยให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด... ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วจะมีด้วยกันมากมายหลายวิธีที่ต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายให้สอดคล้องกับลักษณะความผิดปกติของกระดูกนิ้วหัวแม่เท้าเป็นหลัก...  

 

คุณหมอผู้ชำนาญการฯ ให้ข้อมูล-ผู้ป่วยเผยประสบการณ์...

ากหลักการพิจารณาดังกล่าว การผ่าตัดกรณี “ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป สำหรับ “คุณเกษริน” นั้น “คุณหมอปรัชวาล” ได้สรุปไว้ดังนี้

“... ได้ใช้วิธีผ่าตัดกระดูกส่วนที่นูนออกแล้วจัดกระดูกเพื่อแก้ไขภาวะนิ้วผิดรูปก่อนที่จะยึดกระดูกด้วยโลหะ ร่วมกับการปรับแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ... หลังจากผ่าตัดแล้วจะทำให้หายเจ็บเท้า เท้าแคบลง ช่วยให้เลือกใส่รองเท้าได้ง่ายขึ้น และลดความเจ็บปวดลงที่เกิดขึ้น ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขนิ้วเท้าเอียงนี้จำเป็นจะต้องใช้ความชำนาญของแพทย์อย่างมากเนื่องจากลักษณะของนิ้วและเท้ามีความซับซ้อน จึงควรต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านข้อเท้าเท่านั้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องที่สุด...”





ภายหลังจากที่การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยรายนี้ผ่านพ้นไปแล้ว “คุณหมอปรัชวาล” ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยหวังให้ผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจาก “ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป” รายอื่น ๆ โดยระบุว่า


“... แม้โรคนิ้วโป้งเท้าเอียงจะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ป้องกันไม่ได้ แต่เมื่อเป็นแล้วจะสามารถสังเกตพบความผิดปกติได้ไม่ยาก ซึ่งหากรีบมาปรึกษาแพทย์ก็จะทำให้ได้รับแนวทางการรักษาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวด และช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากขึ้น หรือถึงแม้จะเป็นมากก็ยังรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด ดังนั้นเมื่อพบว่านิ้วโป้งเท้าของตัวเองหรือคนในครอบครัวเอียงผิดปกติ ไม่ว่าจะมีอาการเจ็บร่วมด้วยขณะเดินหรือไม่ ก็ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์จะทำการตรวจ วินิจฉัย และวางแผนการรักษา เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้กลับมาและไม่ต้องเสี่ยงต่อการเจ็บปวดอย่างมากในอนาคตครับ...” 

ส่วน “คุณเกษริน” ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับกรณีการรักษาความผิดปกติที่นิ้วหัวแม่เท้าของตัวเองมาแล้วก็พร้อมสำหรับการ “บอกต่อ” เรื่องราวที่ต้องเผชิญความทุกข์จนกระทั่งได้ก้าวข้ามมาเป็นที่เรียบร้อยโดยเผยว่า

“... หลังผ่าตัดเสร็จดิฉันได้นอนพักดูอาการที่โรงพยาบาลประมาณ 5 คืนก็ได้กลับบ้านไปพักฟื้นดูอาการโดยคุณหมอห้ามลงน้ำหนักที่เท้าราว 6 สัปดาห์และมาพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง อาการก็ดีขึ้นมาเรื่อย โชคดีมาก ๆ ที่ได้พบกับคุณหมอเฉพาะทางด้านเท้า ศูนย์โรคปวดเข่า รพ.ลานนา ที่มีความชำนาญในการรักษาอย่างมาก ช่วยผ่าตัดแก้ไขนิ้วที่เอียงของดิฉันให้กลับมาดีขึ้น ทำให้ไม่มีความเจ็บปวดเหมือนที่เคยเป็นมา เลือกใส่รองเท้าก็ง่ายขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมมากเลยค่ะ...”.


10 สิงหาคม 2564

หน่วยฉีดวัคซีนทางเลือก รพ.ลานนา พร้อมให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

  



โรงพยาบาลลานนา นั้นเป็น 1 ในสถานพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฉีดวัคซีน #ซิโนฟาร์ม ให้กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ #แบบมีค่าบริการฉีดวัคซีน
ผู้สนใจฉีดวัคซีนตัวเลือก #ซิโนฟาร์ม ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สำหรับ #บุคคลธรรมดา จะเปิดให้จองทุกวันพุธ ... โดยรอบ 3 นี้ มีการจัดสรรวัคซีน จำนวน 100,000 ราย ในวันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564
• เวลา 08.18 น. เปิดระบบลงทะเบียน
• เวลา 14.00 น. เปิดระบบการจองวัคซีนสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จ
ลงทะเบียนขอรับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับบุคคลธรรมดาได้ 2 ช่องทาง
1) เว็บไซด์ https://sinopharm.cra.ac.th
2) แอปพลิเคชั่น CRA SINOP ทั้งระบบ iOS และ Android
‼️อย่าลืมอัปเดตแอปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด





ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จในรอบที่ 3 สามารถเข้ามาดำเนินการจองวัคซีน
** เลือก #โรงพยาบาลลานนา เป็นหน่วยฉีด ** #โอนเงินให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 18.00 น.
.
#หากไม่ได้เข้ามาดำเนินการตามวันที่กำหนด .. ระบบจะลบข้อมูลท่านออกจากการลงทะเบียนโดยอัตโนมัติ และท่านต้องลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง หากประสงค์ขอรับการจัดสรรในครั้งต่อไป
.
#หน่วยฉีดวัคซีนทางเลือก โรงพยาบาลลานนา #เปิดให้บริการ รับฉีดวัคซีนทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 8.00น - 16.00 น. โดยจะมีการนัดหมายวันเวลาล่วงหน้า สถานที่ฉีด ณ แผนกผู้ป่วยนอก ชั้น 1 อาคาร B
.
#ติดตามข่าวสาร การจองวัคซีนซิโนฟาร์ม ได้ทางเฟสบุ๊ก #ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Facebook : @CRAVaccineinfocenter


📌 📌 📌 ไม่พลาดทุกข่าวสารน่ารู้ จาก #โรงพยาบาลลานนาติดตาม ไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40lannahospital
เพิ่มเพื่อน www.facebook.com/lannahospital.cm
กดไลค์เพจ www.facebook.com/lannahospital
อย่าลืมกดเลือก ⭐️ #เห็นโพสต์ก่อน หรือ #SeeFirst กันด้วย 😊 😊 😊