โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

25 มิถุนายน 2565

โรงพยาบาลลานนา ร่วมฉลองวันชาติสหรัฐอเมริกา ครบรอบ 246 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ


 โรงพยาบาลลานนา ร่วมฉลองวันชาติสหรัฐอเมริกา
ครบรอบ 246 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ

        วันที่ 24 มิถุนายน 2565 : ตัวแทนผู้บริหาร โรงพยาบาลลานนา นางจิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนกสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลลานนา เข้าร่วมงานเลี้ยงฉลอง ครบรอบ 246 ปี แห่งการประกาศอิสรภาพ วันชาติสหรัฐอเมริกา ณ โรงแรม เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่



โดยมีกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ คุณฌอน เค. โอนีลล์ และภริยา คุณซาจิโยะ คูโบ โอนีลล์ ให้การต้อนรับ โดยโรงพยาบาลลานนา และสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กร มาอย่างยาวนาน



พว.จิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนกสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลลานนา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ร่วมกับโรงพยาบาลลานนา รณรงค์ค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคก่อนลุกลาม


 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
ร่วมกับโรงพยาบาลลานนา รณรงค์ค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคก่อนลุกลาม

เปิดตัวการใช้แอฟฯ Application TB Self Screening (TBSS) หวังให้ประชาชนใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเป็น “วัณโรค” พร้อมรับใบนำตรวจเพิ่มเติม เข้ารักษาตามสิทธิ

        เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 … ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ และนางศิริหญิง ทิพศรีราช สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้เข้ามาที่โรงพยาบาลลานนา เพื่อแนะนำ และสร้างความเข้าใจแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้ Application TB Self Screening (TBSS) ซึ่งเป็นแอฟพลิเคชั่นใหม่ ใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรควัณโรคด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านการสแกน QR code โดยมี นางจิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนกสื่อสารการตลาด และนางอังคณา ปัจฉิม พยาบาลวิชาชีพ หัวหน้าหน่วยงานป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลลานนา ให้การต้อนรับ และรับฟังการชี้แจง ตลอดจนหารือเรื่องความร่วมมือกันในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล การใช้ประโยชน์จากแอฟพลิเคชั่นนี้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลลานนา และโรงพยาบาลลานนา 3 ซึ่งจะมีประโยชน์มากต่อผู้มีประวัติวัณโรคในครอบครัว ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นวัณโรค ฯลฯ โดยโครงการนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จะเริ่มใช้นำร่องในการดำเนินการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ก่อนจะขยายไปสู่อำเภออื่นๆ ในเร็วๆ นี้



ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ วัณโรคเป็นหนึ่งในโรคที่คุ้นหูคนไทยมานาน แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่ทราบว่า วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่อันตราย และน่ากลัวมากแค่ไหน ซึ่งวัณโรคก็ไม่ใช่โรคใหม่ หรือน่ารังเกียจเพราะเป็นโรคท้องถิ่น ที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย และเป็นโรคที่ทุกคนไม่ว่าใคร ก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ตัวเร็ว และรับรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถหายได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาที่เราพบก็คือ ผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว หรือบางคนมีอาการ หรือความเสี่ยง แต่ไม่ยอมบอกข้อมูลกับแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา จนแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น คนใกล้ตัว และชุมชนของตนเองได้ ”


ทางสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้พัฒนาแอฟพลิเคชั่น TB Self Screening (TBSS) เพื่อให้ประชาชน ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรควัณโรค ได้ดาวน์โหลด เพื่อเข้าไปทำแบบประเมินตนเอง เพื่อเช็คอาการว่าเข้าข่ายต่อการเกิดโรคหรือไม่ ซึ่งหากมีความเสี่ยง ก็จะได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมจากบุคลากรสาธารณสุข โดยแอฟพลิเคชั่นนี้ สามารถออกใบนำตรวจให้ท่าน สามารถไปตรวจยังโรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษาของท่านได้ เพียงแค่นำหลักฐานจากแอฟพลิเคชั่นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่พยาบาล ก็สามารถเข้ารับการตรวจ และเข้าสู่ระบวนการรักษาต่อไป




โรงพยาบาลลานนา และ โรงพยาบาลลานนา 3 เป็นอีกหนึ่งสถานพยาบาลเอกชน ที่มีศักยภาพรองรับผู้ป่วยในโครงการประกันสังคมจำนวนมาก ขอเป็นส่วนหนึ่งร่วมรณรงค์ให้ประชาชน และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น “วัณโรค” ได้เข้าใช้แอฟพลิเคชั่นนี้ เพื่อตรวจสอบตนเอง หากมีความเสี่ยง เช่น ไอเรื้อรังนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจพบอาการอื่นเช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ ไอมีเลือดปน เจ็บหน้าอก หายใจขัด เหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นวัณโรค อย่าลืม !! ดาวน์โหลดแอฟฯ แล้วเช็คตัวเองกันด้วย และหากเข้าเกณฑ์แล้วควรเข้ามาตรวจซ้ำที่โรงพยาบาล และหากได้รับการรักษา ควรรับประทานยาจนครบ ผู้มีสิทธิประกันสังคมสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ตามปกติ
“ วัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ หากวินิจฉัยพบเร็ว และได้รับการรักษาที่ถูกวิธี”

/// พว.จิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หน.แผนกสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลลานนา

22 มิถุนายน 2565

วัยต่ำกว่า 50 แข็งแรงดีแต่ถูก “มัจจุราชเงียบ” เล่นงาน!! รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ทำบอลลูนทางข้อมือ-ไม่ต้องผ่าตัด

 


ปวดแน่นหน้าอก-จุกเสียดคิดว่าโรคกระเพาะ

มีกรณีน่าสนใจของชายชาวไร่ที่เชียงใหม่ซึ่งมีวัยเพียง 48 ปี ได้ตกเป็นเหยื่อ มัจจุราชเงียบ โดยเกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบแบบที่เจ้าตัวเองก็ไม่นึกไม่ฝันเพราะโดยปกติแล้ว คุณมนัส... ท่านนี้เป็นคนที่เรียกได้ว่ามีร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยจะเจอการเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยแม้แต่น้อย แต่อยู่มาวันหนึ่งเจ้าตัวเล่าให้ทีมงาน อุ่นใจ...ใกล้หมอ ฟังว่า

“...เหตุเกิดในคืนเคาน์ดาวน์...รอการนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เมื่อปี 63 ผมรู้สึกปวดแน่นหน้าอก จุกเสียดทรมาน ซึ่งคิดว่าเป็นโรคกระเพาะด้วยความที่มันมีอาการคล้ายกรดไหลย้อน จึงหายามาทานโดยหวังให้อาการทุเลาลง แต่ผ่านมาได้ประมาณ 3-4 วันแล้วอาการที่เป็นอยู่ก็ยังไม่หายจึงตัดสินใจไปพบหมอที่โรงพยาบาลลานนาเป็นครั้งแรก และได้ให้ข้อมูลอาการป่วยของตัวเองว่าปวดท้องคล้ายกับว่าจะมาจากโรคกระเพาะอาหาร จึงได้รับยากลับมาทานที่บ้านซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้นบ้างแต่ยังไม่หายขาด โดยยังคงมีอาการเหมือนเดิมเวลาที่ต้องออกแรงทำงาน จนสุดท้ายแล้วต้องกลับมาที่โรงพยาบาลลานนาอีกครั้งเพื่อให้คุณหมอหาสาเหตุของที่แท้จริงโดยได้พบกับคุณหมอรัตนชัย และหลังจากได้สอบถามอาการต่าง ๆ และตรวจร่างกายเบื้องต้นแล้วพบว่ามีอาการเหนื่อยเวลาเดินขึ้นที่สูงด้วยจึงได้แนะนำให้เข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพานจึงได้พบความผิดปกติของคลื่นหัวใจและคุณหมอนัดให้มารับการสวนหัวใจในอาทิตย์ถัดไป โดยได้ให้ยาอมใต้ลิ้นไปด้วยเพื่อทุเลาอาการเจ็บหน้าอกเมื่อเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครับ...”



 เมื่อถึงกำหนด คุณมนัส ก็ได้ไปเข้ารับการสวนหัวใจบอลลูนตามที่ได้นัดไว้กับ นพ.รัตนชัย ชาญชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจและมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจประจำศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง คุณหมอรัตนชัย ได้ใช้เวลาในการ ทำบอลลูนเส้นเลือดหัวใจ ให้ผู้ป่วยรายนี้ประมาณครึ่งชั่วโมงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก ซึ่งหลังจากนั้น คุณมนัส ได้เผยแก่ทีมงานว่า

“...ผมไม่ได้รู้สึกเจ็บหรือปวดอะไรเลย รู้สึกสบาย ๆ เหมือนไปนอนอยู่เฉย ๆ ทำให้พอใจมาก ๆ กับการผ่าตัดครั้งนี้ และหลังการทำบอลลูนครั้งนี้แล้วคุณหมอได้บอกวิธีปฏิบัติตัวหลังจากที่อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านแล้ว ซึ่งหลัก ๆ คือให้งดออกกำลังกายหนักหรือใช้แรงมากในช่วงแรก ๆ ร่วมกับการกินยาสม่ำเสมอ คุมอาหาร เลิกบุหรี่ เพื่อรอให้ร่างกายฟื้นตัวและปลอดภัยแน่นอนแล้วนั่นเองครับ...”

ยืนยันได้ชัดจาก เดินสายพาน-ตรวจสวนหัวใจ

รณีที่ผู้ป่วยรายนี้ได้ให้ข้อมูลกับแพทย์โดยเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการปวดท้องจากกระเพาะอาหารซึ่งแม้จะทานยาผ่านไป 3 วันก็ยังไม่หายขาด และได้กลับมาที่ รพ.ลานนา อีกครั้งและได้รับการตรวจโดย คุณหมอรัตนชัยซึ่งหลังจากตรวจเพิ่มเติมแล้วได้แนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ เดินสายพาน โดยอธิบายว่า

“...เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะผู้ป่วยออกกำลังกาย จะได้ตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายกำลังออกแรงอย่างหนักอยู่นั้นกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์จะประเมินสมรรถภาพของหัวใจได้อย่างถูกต้อง สามารถคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ซึ่งผลจากการตรวจช่วยให้พบความผิดปกติของคลื่นหัวใจจึงได้นัดให้มาเข้ารับการสวนหัวใจและพบว่าได้เกิดภาวะตีบตันในหลอดเลือดหัวใจ 2 ตำแหน่งจึงได้แจ้งให้คุณมนัสได้ทราบถึงอาการและแนวทางการรักษาว่าต้องการทำบอลลูนหัวใจขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งต้องทำโดยด่วน จึงได้นัดให้มาในอาทิตย์ถัดไป โดยได้ให้ยาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เพื่อทุเลาอาการเจ็บหน้าอกเมื่อเวลาที่ผู้ป่วยเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครับ...”

บังเอิญว่าในช่วงเดียวกับที่ คุณมนัสไปเข้ารับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ รพ.ลานนา ยังมีการแพร่ระบาดของ โควิด-19” จึงต้องได้รับการตรวจเชื้อไวรัสวายร้ายตัวนี้เป็นอันดับแรก และวัดคลื่นหัวใจก่อนที่จะรับตัวให้เข้าพักในโรงพยาบาล 1 คืนเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย ทั้งนี้ คุณหมอรัตนชัย ได้อธิบายถึงการใช้เทคโนโลยีทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือไว้ดังนี้ 

 “...เป็นการสวนหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ใส่ท่อนำขนาดเล็กที่ข้อมือ แล้วใส่สายสวนผ่านท่อนำเข้าไปเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ฉีดสีผ่านสายสวน จึงจะเห็นตำแหน่งที่ตีบ แล้วใส่สายเส้นเล็กๆผ่านสายสวน ผ่านจุดที่หลอดเลือดตีบ ใส่บอลลูนผ่านสายไปยังจุดตีบ แล้วจึงถ่างบอลลูนกดตะกรันที่อยู่ที่จุดตีบให้แนบกับหลอดเลือด แล้วใส่ขดลวดผ่านสายเข้าไปค้ำกดตะกรันเอาไว้ ไม่ให้กลับมาทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นตีบซ้ำ ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นกลับมาขยายตัวเป็นปกติ  เลือดจึงไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ซึ่งการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือจะมีความปลอดภัยกว่าทางขาหนีบ เนื่องจากหลอดเลือดอยู่ตื้น ไม่มีอวัยวะใกล้เคียงที่มีโอกาสบาดเจ็บ แพทย์สามารถทำการหยุดเลือดหลังจากเอาอุปกรณ์ออกได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์มากกว่าทางขาหนีบ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ที่ให้ผลการรักษาที่ดี  โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องนอนหงายเป็นระยะเวลานาน ๆ หลังจากสวนหัวใจใส่บอลลูนแล้ว และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลระยะสั้นก็กลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หลังการทำหัตถการดังกล่าวนี้แล้ว จะมีแผลขนาดเล็กที่บริเวณข้อมือซึ่งรอไม่นานก็หายครับ...”

หลังจากผู้ป่วยชายชาวเชียงใหม่วัย 48 ปีได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจโดย นพ.รัตนชัย ชาญชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ ประจำ ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา” 



เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าตัวได้กล่าวปิดท้ายว่า

“...ผมต้องขอขอบคุณคุณหมอรัตนชัย และเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกท่านที่ได้ดูแลผมตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาแห่งนี้ พร้อมทั้งขอฝากถึงคนที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ เหนื่อยง่ายขณะออกแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจดูให้แน่ชัด เพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ครับ...”












 



20 มิถุนายน 2565

โรงพยาบาลลานนา โรงพยาบาลลานนา 3 ร่วมแสดงความยินดี เปิดอาคารใหม่ สำนักงานประกันสังคม จังหวัดเชียงใหม่

    



 วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ … นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา พร้อมนางสาวจันทนา จารุเศรณี หัวหน้าแผนกลูกค้าสัมพันธ์ และนางจิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนกสื่อสารการตลาด  ได้เข้ามอบแจกันดอกไม้แสดงความยินดี กับสำนักงานประกันสังคม จ.เชียงใหม่ เนื่องในโอกาสที่ได้เปิดอาคาร สำนักงานประกันสังคมแห่งใหม่ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางอัจฉรา บัวทอง ประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสององค์กร  

โดยงานพิธีเปิดอาคารสำนักงานประกันสังคม จังหวัดเชียงใหม่ในวันนี้ ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน และเปิดอาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม บริษัท ห้างร้าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  ในจังหวัดเชียงใหม่  ให้การต้อนรับและร่วมในพิธีการเปิดอาคารใหม่นี้  เพื่อเป็นการตอบสนองการให้บริการ  ที่สะดวกรวดเร็ว ทันสมัย รวมถึงเรื่องอาคารสถานที่รองรับการให้บริการที่เพียงพอ และพร้อมต่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของผู้ประกันตนในจังหวัดเชียงใหม่

ในงานนี้ โรงพยาบาลลานนา  ยังได้เข้าร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์ แนะนำความเป็นมาของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลลานนา 3 ในฐานะสถานพยาบาลร่วมเครือข่ายประกันสังคม แก่ท่านรัฐมนตรีและคณะฯ  ซึ่งโรงพยาบาลลานนา และโรงพยาบาลลานนา 3  ถือเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาในโครงการประกันสังคม ที่มีผู้ประกันตนชาวจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ให้ความไว้วางใจ  เลือกเป็นสถานพยาบาลหลักมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่  มีศักยภาพสูงสามารถรองรับผู้ประกันตนใน ปี 2565 ได้มากกว่า 266,000 คน  ถือเป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ที่อยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่ และผู้ประกันตนมาอย่างยาวนาน  อีกทั้งยังได้นำรถพยาบาลมาร่วมออกหน่วย และให้บริการตรวจคัดกรอง  ATK ให้แก่แขกรับเชิญที่มาร่วมงาน ก่อนเข้างานอีกด้วย

14 มิถุนายน 2565

วัคซีนโมเดอร์นา เข็มกระตุ้น ล็อตสุดท้าย ราคา 800 บาท

 


มาแล้ว… วัคซีนโมเดอร์นา เข็มกระตุ้น ล็อตสุดท้าย ราคา 800 บาท
จองผ่านออนไลน์ เลือกวันฉีดได้เลย ถึง 30 กรกฏาคม 2565 นี้เท่านั้น
โค้งสุดท้ายแล้ว มาฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น โมเดอร์นา เพื่อให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้น พร้อมรับวิถีชีวิตใหม่ และใช้ชีวิตได้เป็นปกติอย่างปลอดภัย โรงพยาบาลลานนา นำวัคซีนโมเดอร์นา เข็มกระตุ้น ล็อตสุดท้าย ทั้งแบบ 100 mg และ 50 mg ในราคาเพียง 800 บาท (รวมค่าบริการ) มาให้บริการแล้ว

ผู้ที่สนใจรับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา สามารถเข้าทำรายการในระบบ
พร้อมนัดวันฉีดได้เลยตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 กรกฎาคม 2565
สนใจ คลิ๊กลิ้งค์ >>> https://bit.ly/3HlB2Wi

13 มิถุนายน 2565

ครบรอบ 46 ปี โรงพยาบาลลานนา ขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่าน ร่วมบริจาคโลหิต เพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์

 


 ครบรอบ 46 ปี โรงพยาบาลลานนา

ขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่าน ร่วมบริจาคโลหิต เพื่อช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์

ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-15.00 น. ณ โรงพยาบาลลานนา3 บริเวณ หน้าแผนกฉุกเฉิน ชั้น 1 

    ช่วงโควิดระบาดนี้ กาชาดต้องการเลือดเป็นจำนวนมาก #การบริจาคเลือด นอกจากจะได้บุญแล้ว ยังมีข้อดีในด้านของสุขภาพ และการลดความเสี่ยงต่ออาการป่วย ทั้งโรคหัวใจ และการเกิดมะเร็งแล้ว ยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือด ทำได้ดีขึ้น ระบบต่างๆ ก็ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส โดยไม่ต้องพึ่งวิตามิน หรืออาหารเสริมใดๆ เลยล่ะค่ะ

ทราบถึงข้อดีของการบริจาคเลือดกันขนาดนี้แล้ว“เตรียมร่างกายให้พร้อมแล้วมาบริจาคเลือดกันนะคะ”

สำรองล่วงหน้า รับของที่ระลึกจากโรงพยาบาลลานนา

แผนกสื่อสารการตลาด โทร.052-134785-7








โรงพยาบาลลานนา ต้อนรับแจกันดอกไม้ประทาน

 



โรงพยาบาลลานนา ต้อนรับแจกันดอกไม้ประทาน 

วันที่ 13 มิถุนายน 2565  ณ โรงพยาบาลลานนา 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ โปรดฯ ให้นายศุกร์พโชค ประทุมมาศ มหาดเล็กประจำพระองค์  อัญเชิญแจกันดอกไม้ประทาน และสิ่งของเยี่ยมไข้  แก่นางดวงดาว ปันทะรส  ณ หอผู้ป่วย อาคาร B โรงพยาบาลลานนา  โดยมี  นพ.อภินันท์ ตันติวุฒิ อายุรแพทย์   และ นางจิราลักษณ์ จันทร์กระจาย หัวหน้าแผนก สื่อสารการตลาด โรงพยาบาลลานนา  ให้การต้อนรับ 


10 มิถุนายน 2565

ลานนาสาร วารสารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกครอบครัว ฉบับที่ 1/2565

 



หลังจากสถานการณ์การระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ผ่านไป.. หลายคนอาจเคย
ติดเชื้อโควิด-19กันมาแล้ว

บางคนอาจจะหายดีกลับมาเป็นปกติ แต่ก็มีอีกหลายคนที่หายแล้ว.. แต่อาการไม่ปกติเหมือนเดิม
ยังมีอาการหลงเหลือหลังจากติดเชื้ออยู่ ซึ่งก็คือ.. อาการของโควิดระยะยาว หรือ #LongCovid นั่นเอง
>> ลานนาสารฉบับนี้ นพ.อภินันท์ ตันติวุฒิ อายุรแพทย์ #โรงพยาบาลลานนา จะมาอธิบายและให้ความรู้ รวมทั้งวิธีการป้องกันเกี่ยวกับภาวะ “Long Covid”
ลานนาสาร วารสารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกครอบครัว ฉบับที่ 1/2565
ติดตามอ่าน ลานนาสาร ฉบับ E-Book
ผ่านทางเว็บไซต์ >>> https://bit.ly/3O4aXwL 📲💻
นอกจากนี้เราก็มีเนื้อหาสาระอีกมากมาย ที่รวบรวมบทความสุขภาพเกี่ยวกับความรู้สุขภาพ
และโรคภัยไข้เจ็บ อย่างถูกต้อง จากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการของโรงพยาบาลลานนา
✅ อาการโควิดระยะยาว หรือ #LongCovid
✅ คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น
✅ #หัวใจวาย ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัว อาจสายเกินแก้
✅ #ต่อมไทยรอยด์ขนาดโต เสี่ยงเป็นมะเร็ง

7 มิถุนายน 2565

รพ.ลานนา อบรม IC Workshop วันที่ 6 มิถุนายน 2565

 



คณะกรรมการหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลลานนา ได้มีการจัดอบรมโครงการ IC Workshop ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลลานนา 3
.
เพื่อให้บุคลากรของโรงพยาบาลลานนาทุกคน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในสถานพยาบาล ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวเจ้าหน้าที่ พยาบาล และบุคลากร ตลอดจนถึงผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลลานนาอีกด้วย