โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

26 พฤษภาคม 2563

หนุ่มใหญ่เจอ “ไส้เลื่อน” 2 ตำแหน่งทั้งที่ขาหนีบ-อัณฑะ... “รพ.ลานนา” ใช้เทคโนฯ ส่องกล้องผ่าตัดเพียงแผลเดียว !!



หนุ่มใหญ่เจอ “ไส้เลื่อน” 2 ตำแหน่งทั้งที่ขาหนีบ-อัณฑะ...  
“รพ.ลานนา” ใช้เทคโนฯ ส่องกล้องผ่าตัดเพียงแผลเดียว !!


ก้อนตุงแรกไม่ทำให้เจ็บปวด จนกระทั่งมีอีกก้อน...!!!

ผ่านหนาวผ่านร้อนมาถึงวัยที่มีเลข 4 นำหน้าได้แค่ปีเศษ ๆ “หนุ่มใหญ่ชาวเหนือ” ที่มีนามว่า “กชการ สองอารยา” ก็มีอันต้องเผชิญกับปัญหาอาการของ “โรคไส้เลื่อน” ที่เริ่มเข้ามาเบียดเบียนก่อนหน้านั้นหลายปี โดยเจ้าตัวเผยว่า

“...ตอนแรกก็ดูเหมือนไม่มีอะไร สังเกตได้แค่ มีก้อนนูนขึ้นมาที่ท้อง เมื่อคลำดูก็รู้สึกได้ว่ามันมีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ แต่ไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ โดยจะเห็นได้ชัดต่อเมื่อลุกขึ้นยืน...ไอ...จาม...เบ่งถ่าย...หรือเวลายกของหนัก แต่หากนอนหงายก็จะเห็นว่าก้อนนี้เล็กลง หรือยุบหายไป เจ้าก้อนตุงผลุบ ๆ โผล่ ๆ อยู่อย่างนี้เป็นแรมปีโดยไม่เกิดความเจ็บปวดมากถึงกับรบกวนชีวิตประจำวัน... แต่หลังจากวันเวลาผ่านไปก็ไม่ใช่ว่าจะสังเกตเห็นแค่ตำแหน่งเดิมแห่งเดียวแล้ว เพราะจะเห็นได้ว่ามีก้อนตุงเพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งที่ บริเวณหัวหน่าว... รวมทั้งมักมีอาการหน่วงท้อง เจ็บท้อง มากขึ้น ซึ่งก็บรรเทาด้วยการพักหรือนอนลงก็จะทุเลาลง ซึ่งค่อนข้างรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันผมมากจึงตัดสินใจไปพบคุณหมอที่ ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็กไส้เลื่อน โรงพยาบาลลานนา ในที่สุด”



ตรวจวินิจฉัยไม่ยากจากประสบการณ์ของแพทย์...

ลังจากที่ “คุณกชการ” ไปที่ “โรงพยาบาลลานนา” แล้วได้รับการตรวจวินิจฉัยหาที่มาสาเหตุของความผิดปกติเป็นอันดับแรกโดย “นพ.ราชันย์พัทธ์ วรเวชานนท์...ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมส่องกล้อง”  ได้ตรวจร่างกายทั้งในท่านอน ท่ายืน รวมทั้งให้ผู้ป่วยช่วยออกแรงเบ่ง ซึ่งในกรณีของไส้เลื่อนนั้นการวินิจฉัยจะทำได้ไม่ยาก เพราะไม่ว่าจะอย่างไรคุณหมอก็ต้องคลำและพบก้อนตุงที่ตำแหน่งประจำของมันอย่างแน่นอน ซึ่งหากตรวจแล้วไม่พบ หรือเกิดความไม่แน่ใจว่าก้อนที่พบว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ ก็อาจต้องส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์...อัลตราซาวนด์...หรือ MRI ต่อไป ... ประเด็นสำคัญที่คุณหมอต้องการวินิจฉัยก็คือ กาตรวจดูว่าไส้เลื่อนของผู้ป่วยนั้น เข้าข่ายเป็นไส้เลื่อนติดคา หรือ ไส้เลื่อนบีบรัดหรือไม่ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจมีโอกาสที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อันตรายได้ โดยการตรวจผู้ป่วยรายนี้แล้ว พบว่าเป็นภาวะอาการอันเกิดจาก “ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ” และ “ไส้เลื่อนลงอัณฑะ” “คุณหมอราชันย์พัทธ์” อธิบายถึงการเกิด “โรคไส้เลื่อน” ว่า



 “...ลำไส้ปกติจะอยู่ในช่องท้อง ถ้ามีความผิดปกติจนเป็นเหตุให้มีลำไส้ หรือเยื่อบุช่องท้องออกมาภายนอกก็จะเรียกว่าไส้เลื่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง เช่นที่บริเวณขาหนีบสองข้าง อัณฑะ สะดือ ช่องกระบังลม ช่องว่างของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือช่องที่เกิดจากรอยแผลผ่าตัดเก่า ซึ่งล้วนเป็นตำแหน่งที่สามารถเกิดไส้เลื่อนได้ทั้งนั้น แม้บางทีอาการอาจดูไม่เป็นไรได้พักเดี๋ยวเดียวก็หาย แต่หากไม่รักษาหรือปล่อยไว้นานละก็อาการของไส้เลื่อนธรรมดาอาจพัฒนากลายเป็นรุนแรงมากขึ้น ...”

อย่างไรก็ตามการรักษา โรคไส้เลื่อน” ให้หายนั้นไม่สามารถใช้วิธีกินยาเพื่อให้ไส้เลื่อนกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อไส้เลื่อนได้ไหลออกมาเป็นก้อนนูนแล้วยังมีโอกาสขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเป็นอันตรายกลายเป็นโรคลำไส้อุดตัน หรือลำไส้เน่าเพราะขาดเลือดไปเลี้ยง... ส่งผลให้คุณหมอต้อง “เผด็จศึก” ไส้เลื่อนให้หายด้วย “การผ่าตัด” สถานเดียว




ประโยชน์หลายแง่จาก “เทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง”


ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยรายอื่นคือ “ไส้เลื่อน” ที่เกิดขึ้นกับ “คุณกชการ”  มีด้วยกันถึง 2 ตำแหน่งจึงเป็นผลให้ “คุณหมอราชันย์พัทธ์” ได้พิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จาก “เทคโนโลยีผ่าตัดโดยการส่องกล้อง” ซึ่งได้ช่วยให้สามารถ... แก้ไขและรักษาไส้เลื่อนได้ทั้ง 2 ตำแหน่ง ในแผลผ่าตัดเดียวกัน... ด้วยการเจาะรูขนาดเล็กที่บริเวณผนังหน้าท้อง ประมาณ 3 รู...สำหรับสอดกล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษเข้าไปซ่อมผนังหน้าท้องด้านในให้แข็งแรง โดยมีการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ปูคลุมผนังหน้าท้องส่วนที่มีปัญหาเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และที่ได้ประโยชน์นอกเหนือจากการลดโอกาสการเป็นซ้ำแล้ว การผ่าตัดส่องกล้องด้วยวิธีนี้ ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บไม่มาก จึงสามารถคืนสู่การฟื้นตัวเพื่อประกอบกิจวัตรประจำวันได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม โดยมีแผลขนาดเล็กจากการผ่าตัด  ซึ่งปราศจากรอยแผลเป็นแนวยาวที่หน้าท้อง...!!!


ผลสำเร็จจากกรณีที่ “ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็กไส้เลื่อน...โรงพยาบาลลานนา” ได้ให้การรักษาภาวะอาการไส้เลื่อนให้กับ “คุณกชการ” สะท้อนให้เห็นชัดถึงประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการบำบัดรักษาภาวะอาการไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นถึง 2 ตำแหน่งในผู้ป่วยรายนี้ได้อย่างสะดวกโดยไม่สร้างความลำบากให้แก่ศัลยแพทย์ผู้ให้การรักษาเหมือนแต่ก่อน ผู้ป่วยเองก็ไม่ต้องมีบาดแผลขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานก็สามารถกลับไปประกอบภารกิจใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถนำไปอวดใครต่อใครได้อีกว่าแทบจะไม่มีรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งหากชาวเชียงใหม่หรือผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดใกล้เคียงเจอปัญหาจาก “โรคไส้เลื่อน” จะได้ไม่ต้องลังเลใจในการที่จะรีบไปรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องทนกับการมีก้อนมาตุงอยู่ที่ท้องน้อยหรือบริเวณอื่นอันอาจลุกลามไปสู่ปัญหาอื่นได้อีก...

“หมอจอแก้ว” ขอถือโอกาส “ตีฆ้อง” มายัง... ผู้มีสิทธิ์เบิกตรง...ข้าราชการ...ผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม...สามารถเข้ารับการรักษาไส้เลื่อนด้วยการส่องกล้องได้ที่ ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็กไส้เลื่อน โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ ด้วยการใช้สิทธิ์ตามที่ทุกท่านมีอยู่แล้ว...ให้ได้รับทราบทั่วกันครับ