เพศชายเป็นแชมป์สิ้นชีพเพราะมะเร็งตับในไทย!!!
กระตุกความตื่นตัวของใครต่อใครให้หันมาสนใจให้ความสำคัญกับ
“โรคมะเร็งตับ”
ได้เป็นอย่างมากทีเดียวสำหรับกรณีที่มีข่าวเศร้าของคนในวงการบันเทิงอย่าง “ตั้ว-ศรัณยู
วงษ์กระจ่าง”
ซึ่งต้องเหลือแต่ชื่อเพราะไม่อาจสู้ทธิ์เดชของโรคร้ายสุดอันตรายชนิดนี้ ทั้ง ๆ
ที่จริง ๆ แล้วตามสถิติที่ “สถาบันมะเร็งแห่งชาติ” ระบุไว้คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี พบในเพศชายมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดในคนไทย... ดังจะเห็นจากสถิติปี 2558 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 15,912 คน
ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงมากยิ่งหากผู้ป่วยรายใดได้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็มักมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน
ทั้งนี้การรักษาที่ดีที่สุดคือ “การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก”
แต่นั่นก็หมายความว่าผู้ป่วยจะต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ตับมีความสมบูรณ์... แต่เรื่องที่น่าเศร้าคือผู้ป่วยบางส่วน...ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้…!!!
“...เขามีทางเลือกอื่นใดในการรักษาต่อสู้กับโรคภัยร้ายแรงชนิดอีกหรือ”...???
“ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลลานนา
จังหวัดเชียงใหม่” เตรียมความกระจ่างมาไขให้ทราบใน “อุ่นใจ...ใกล้หมอ” ฉบับนี้แล้ว
โดยขอเริ่มจาก “สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับในคนไทย” เป็นอันดับแรก โดยมีข้อมูลระบุว่าสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
อาทิ...พฤติกรรมการดื่มสุราเป็นประจำ... โรคไขมันพอกตับ และ โรคที่เกี่ยวข้องกับตับ
เป็นต้นว่า...ตับอักเสบ...ตับแข็ง...เป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือ
ซี...ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา
หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ตับก็อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ รวมทั้งสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากเช่นการมีพันธุกรรมเสี่ยงของคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง
ซึ่งเมื่อรวมปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้มาเพิ่มพูนปัจจัยเสี่ยงให้มากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน
“กลุ่มเสี่ยง”
ควรไปตรวจหา “ภัยเงียบ” นี้ ...
ดูเผิน
ๆ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ปรากฏออกมาให้เห็นในระยะเริ่มแรกของการดำเนินโรค
ผู้ป่วยจึงดูเหมือนคนแข็งแรงปกติทั่วไป และกว่าจะรู้ตัวก็เดินหน้าไปอยู่ในระยะกลางและระยะสุดท้ายจึงจะปรากฏความผิดปกติออกมาให้เห็น
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นโอกาสในการผ่าตัดรักษาก็สูญไปแล้ว และเมื่อเกินกว่าจะรักษาได้ก็แน่นอนว่าผู้ป่วยต้องจบชีวิตในที่สุด
เพราะฉะนั้น การตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเปรียบเสมือนการค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิด
“มะเร็งตับ” เพราะเหตุที่ว่ามันเป็นมะเร็งชนิดลุกลามเร็ว ดังนั้นผู้ที่จัดอยู่ใน
“กลุ่มเสี่ยง” จึงควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
ซึ่ง “ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลลานนา” ขอย้ำมาอีกรอบว่า...ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีในร่างกาย หรือมีภาวะตับแข็ง
และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นประจำมายาวนาน รวมทั้งผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ...
ล้วนจำเป็นต้องได้รับการตรวจหามะเร็งตับ แม้จะไม่ได้มีอาการใด ๆ ก็ตาม
เพราะหากตรวจพบเร็วก็สามารถรักษาให้หายได้เร็วเช่นกัน
ซึ่งในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับนั้นสามารถทำได้โดย “การตรวจเลือดเพื่อหาสารก่อมะเร็งตับ”
ซึ่งจะพบว่าสูงขึ้นในผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จากนั้นคุณหมออาจใช้การวินิจฉัยด้วยการตรวจทางรังสีวิทยา
ได้แก่ การทำอัลตร้าซาวด์ และหากพบความผิดปกติ คุรหมอก็อาจส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
หรือ การตรวจสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือตรวจโดยใช้การฉีดสารทึบแสงร่วมด้วย
เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยความผิดปกติของตับได้ดีขึ้น
แม้จะเสียโอกาสผ่าตัด ก็ยังพึ่งเทคโนฯ การแพทย์อื่นได้...
มาถึงตรงนี้ก็จะเป็นช่วง
“ไฮ-ไลท์” ดังที่ “หมอจอแก้ว”
จั่วหัวไว้แล้วว่าจะมีไขความกระจ่างกันในวันพุธนี้ โดย “นพ.ประทีป มัลโฮตรา”...
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารและตับ ประจำ
“ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลลานนา” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับในปัจจุบันโดยระบุว่า
“...การรักษาสำหรับผุ้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับนั้น หากพบในระยะแรก
ๆ ถ้าเจ้าตัวมีสุขภาพร่างกายอยู่ในวิสัยที่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้ผ่าตัดเป็นอันดับเเรกก่อน
แต่ต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับที่ยังไม่ลุกลาม และต้องไม่มีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
ไม่มีภาวะตับแข็ง...การทำงานของตับส่วนที่เหลือยังดีอยู่...ขนาดเนื้องอกไม่ใหญ่จนเกินไป...ไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะอื่น...และ...ส่วนของเนื้อร้ายไม่กินไปที่เส้นเลือดของตับ...ก็จะสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้...โดยขอย้ำเลยว่าการรักษาโดยการผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดมะเร็งร้ายนี้...อย่างไรก็ตาม
หากผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้
แพทย์จะเลือกใช้การรักษาแบบ TACE หรือการให้เคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง ถือเป็นการรักษาทางเลือก
ที่สามารถช่วยในการประคับประคองอาการ ชะลอให้มะเร็งตับโตช้าลง...”
คำอธิบายจาก “คุณหมอประทีป” ถือเป็นเทคโนโลยีการรักษามะเร็งตับอีกแนววิธีหนึ่ง
ที่ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลลนนานำมาใช้
โดยเป็นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับในกรณีที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
อาทิ...ผู้ป่วยสูงอายุ...ผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกโต...เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่เเตกต่างจากอวัยวะอื่น
คือมีเส้นเลือดไปเลี้ยง 2 ระบบ เส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ
เมื่อมีมะเร็งก่อตัวขึ้นก็จะอาศัยเส้นเลือดเเดงมาหล่อเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่เส้นเลือดดำมักจะไปเลี้ยงเนื้อตับส่วนดี
เพราะเหตุนี้วงการแพทย์จึงได้คิดค้นนวัตกรรมการแพทย์ประเภทนี้ขึ้นเพื่อเลียงการผ่าตัดให้ผู้ป่วย
หากแต่ทำโดยการสอดท่อเล็ก ๆ ที่เรียกว่าสายสวนหลอดเลือดโดยการสอดท่อเล็ก ๆ
เข้าทางหลอดเลือดแดงตรงขาหนีบ เเล้วใช้เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดในห้องปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดผ่านหลอดเลือดแดงรักษามะเร็งตับ
เพื่อตรวจหาหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกที่ตับ
จากนั้นจึงให้ยาเคมีบำบัดฆ่าเซลล์มะเร็งที่ก้อนมะเร็งตับได้โดยตรง
และให้สารอุดกั้นหลอดเลือดแดงเส้นนั้น เพื่อทำให้ก้อนเนื้องอกถูกทำลายลง
และขาดเลือดไปเลี้ยง...
ซึ่งการรักษาด้วยวิธี TACE ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับที่ได้มีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับที่ “ศูนย์โรคปวดท้อง โรงพยาบาลลานนา”
ในปัจจุบัน เพื่อช่วยชะลอให้ก้อนเนื้องอกโตช้าช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนนานขึ้น
เจ็บปวดและทรมานจากโรคน้อยลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น...
“...ไม่มีใครรู้ว่าโรคร้าย หรือมะเร็งต่าง ๆ
จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ สำหรับใครที่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งตับ
โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง หรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ
หรือมีไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกาย ก็ควรลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการงดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพยายามอย่าเครียด
เมื่อมีโอกาสก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งตับอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งจะช่วยให้การรักษาเริ่มต้นได้ทันทีหากพบความผิดปกติ...”
นั่นคือข้อคิดที่ “คุณหมอประทีป” ฝากทิ้งท้ายไว้ในฉบับนี้ครับ