โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

22 มิถุนายน 2565

วัยต่ำกว่า 50 แข็งแรงดีแต่ถูก “มัจจุราชเงียบ” เล่นงาน!! รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ทำบอลลูนทางข้อมือ-ไม่ต้องผ่าตัด

 


ปวดแน่นหน้าอก-จุกเสียดคิดว่าโรคกระเพาะ

มีกรณีน่าสนใจของชายชาวไร่ที่เชียงใหม่ซึ่งมีวัยเพียง 48 ปี ได้ตกเป็นเหยื่อ มัจจุราชเงียบ โดยเกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบแบบที่เจ้าตัวเองก็ไม่นึกไม่ฝันเพราะโดยปกติแล้ว คุณมนัส... ท่านนี้เป็นคนที่เรียกได้ว่ามีร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยจะเจอการเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยแม้แต่น้อย แต่อยู่มาวันหนึ่งเจ้าตัวเล่าให้ทีมงาน อุ่นใจ...ใกล้หมอ ฟังว่า

“...เหตุเกิดในคืนเคาน์ดาวน์...รอการนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เมื่อปี 63 ผมรู้สึกปวดแน่นหน้าอก จุกเสียดทรมาน ซึ่งคิดว่าเป็นโรคกระเพาะด้วยความที่มันมีอาการคล้ายกรดไหลย้อน จึงหายามาทานโดยหวังให้อาการทุเลาลง แต่ผ่านมาได้ประมาณ 3-4 วันแล้วอาการที่เป็นอยู่ก็ยังไม่หายจึงตัดสินใจไปพบหมอที่โรงพยาบาลลานนาเป็นครั้งแรก และได้ให้ข้อมูลอาการป่วยของตัวเองว่าปวดท้องคล้ายกับว่าจะมาจากโรคกระเพาะอาหาร จึงได้รับยากลับมาทานที่บ้านซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้นบ้างแต่ยังไม่หายขาด โดยยังคงมีอาการเหมือนเดิมเวลาที่ต้องออกแรงทำงาน จนสุดท้ายแล้วต้องกลับมาที่โรงพยาบาลลานนาอีกครั้งเพื่อให้คุณหมอหาสาเหตุของที่แท้จริงโดยได้พบกับคุณหมอรัตนชัย และหลังจากได้สอบถามอาการต่าง ๆ และตรวจร่างกายเบื้องต้นแล้วพบว่ามีอาการเหนื่อยเวลาเดินขึ้นที่สูงด้วยจึงได้แนะนำให้เข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพานจึงได้พบความผิดปกติของคลื่นหัวใจและคุณหมอนัดให้มารับการสวนหัวใจในอาทิตย์ถัดไป โดยได้ให้ยาอมใต้ลิ้นไปด้วยเพื่อทุเลาอาการเจ็บหน้าอกเมื่อเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครับ...”



 เมื่อถึงกำหนด คุณมนัส ก็ได้ไปเข้ารับการสวนหัวใจบอลลูนตามที่ได้นัดไว้กับ นพ.รัตนชัย ชาญชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจและมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจประจำศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง คุณหมอรัตนชัย ได้ใช้เวลาในการ ทำบอลลูนเส้นเลือดหัวใจ ให้ผู้ป่วยรายนี้ประมาณครึ่งชั่วโมงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก ซึ่งหลังจากนั้น คุณมนัส ได้เผยแก่ทีมงานว่า

“...ผมไม่ได้รู้สึกเจ็บหรือปวดอะไรเลย รู้สึกสบาย ๆ เหมือนไปนอนอยู่เฉย ๆ ทำให้พอใจมาก ๆ กับการผ่าตัดครั้งนี้ และหลังการทำบอลลูนครั้งนี้แล้วคุณหมอได้บอกวิธีปฏิบัติตัวหลังจากที่อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านแล้ว ซึ่งหลัก ๆ คือให้งดออกกำลังกายหนักหรือใช้แรงมากในช่วงแรก ๆ ร่วมกับการกินยาสม่ำเสมอ คุมอาหาร เลิกบุหรี่ เพื่อรอให้ร่างกายฟื้นตัวและปลอดภัยแน่นอนแล้วนั่นเองครับ...”

ยืนยันได้ชัดจาก เดินสายพาน-ตรวจสวนหัวใจ

รณีที่ผู้ป่วยรายนี้ได้ให้ข้อมูลกับแพทย์โดยเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการปวดท้องจากกระเพาะอาหารซึ่งแม้จะทานยาผ่านไป 3 วันก็ยังไม่หายขาด และได้กลับมาที่ รพ.ลานนา อีกครั้งและได้รับการตรวจโดย คุณหมอรัตนชัยซึ่งหลังจากตรวจเพิ่มเติมแล้วได้แนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ เดินสายพาน โดยอธิบายว่า

“...เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะผู้ป่วยออกกำลังกาย จะได้ตรวจสอบว่าขณะที่ร่างกายกำลังออกแรงอย่างหนักอยู่นั้นกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์จะประเมินสมรรถภาพของหัวใจได้อย่างถูกต้อง สามารถคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ซึ่งผลจากการตรวจช่วยให้พบความผิดปกติของคลื่นหัวใจจึงได้นัดให้มาเข้ารับการสวนหัวใจและพบว่าได้เกิดภาวะตีบตันในหลอดเลือดหัวใจ 2 ตำแหน่งจึงได้แจ้งให้คุณมนัสได้ทราบถึงอาการและแนวทางการรักษาว่าต้องการทำบอลลูนหัวใจขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งต้องทำโดยด่วน จึงได้นัดให้มาในอาทิตย์ถัดไป โดยได้ให้ยาอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เพื่อทุเลาอาการเจ็บหน้าอกเมื่อเวลาที่ผู้ป่วยเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครับ...”

บังเอิญว่าในช่วงเดียวกับที่ คุณมนัสไปเข้ารับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ รพ.ลานนา ยังมีการแพร่ระบาดของ โควิด-19” จึงต้องได้รับการตรวจเชื้อไวรัสวายร้ายตัวนี้เป็นอันดับแรก และวัดคลื่นหัวใจก่อนที่จะรับตัวให้เข้าพักในโรงพยาบาล 1 คืนเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย ทั้งนี้ คุณหมอรัตนชัย ได้อธิบายถึงการใช้เทคโนโลยีทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือไว้ดังนี้ 

 “...เป็นการสวนหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ ใส่ท่อนำขนาดเล็กที่ข้อมือ แล้วใส่สายสวนผ่านท่อนำเข้าไปเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ฉีดสีผ่านสายสวน จึงจะเห็นตำแหน่งที่ตีบ แล้วใส่สายเส้นเล็กๆผ่านสายสวน ผ่านจุดที่หลอดเลือดตีบ ใส่บอลลูนผ่านสายไปยังจุดตีบ แล้วจึงถ่างบอลลูนกดตะกรันที่อยู่ที่จุดตีบให้แนบกับหลอดเลือด แล้วใส่ขดลวดผ่านสายเข้าไปค้ำกดตะกรันเอาไว้ ไม่ให้กลับมาทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นตีบซ้ำ ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นกลับมาขยายตัวเป็นปกติ  เลือดจึงไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ซึ่งการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือจะมีความปลอดภัยกว่าทางขาหนีบ เนื่องจากหลอดเลือดอยู่ตื้น ไม่มีอวัยวะใกล้เคียงที่มีโอกาสบาดเจ็บ แพทย์สามารถทำการหยุดเลือดหลังจากเอาอุปกรณ์ออกได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจผ่านทางข้อมือจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์มากกว่าทางขาหนีบ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ที่ให้ผลการรักษาที่ดี  โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องนอนหงายเป็นระยะเวลานาน ๆ หลังจากสวนหัวใจใส่บอลลูนแล้ว และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลระยะสั้นก็กลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หลังการทำหัตถการดังกล่าวนี้แล้ว จะมีแผลขนาดเล็กที่บริเวณข้อมือซึ่งรอไม่นานก็หายครับ...”

หลังจากผู้ป่วยชายชาวเชียงใหม่วัย 48 ปีได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจโดย นพ.รัตนชัย ชาญชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ ประจำ ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา” 



เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าตัวได้กล่าวปิดท้ายว่า

“...ผมต้องขอขอบคุณคุณหมอรัตนชัย และเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกท่านที่ได้ดูแลผมตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาแห่งนี้ พร้อมทั้งขอฝากถึงคนที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ เหนื่อยง่ายขณะออกแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจดูให้แน่ชัด เพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ครับ...”