โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

17 สิงหาคม 2565

“เอ็นเข่าฉีกขาด” เมื่อล้มขณะเล่น “ลองบอร์ด” ศูนย์บาดเจ็บการกีฬา รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ผ่าตัดส่องกล้อง-หายไว


อุบัติเหตุจากกีฬาเกิดได้เสมอ

ระโยชน์ที่คนเราได้รับจาก “การเล่นกีฬา” นั้นมีค่ามหาศาล ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้ออกกำลังกายแล้วยังจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อมกันอีกด้วย และนั่นคือที่มาของ “กระแสนิยม” ที่ส่งผลให้คนไทยเราหันมาให้ความสนใจและให้เวลากับการเล่นกีฬามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังมี “ของเล่นใหม่ ๆ” มาท้าทายความสามารถของ “คนรุ่นใหม่” ให้หันมานิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นั่นก็คือ “กีฬาประเภทสเก็ต” ที่จัดว่าเป็น “กีฬาเอ็กซ์ตรีม” ยอดฮิตซึ่งได้รับความสนใจจากคนทุกเพศทุกวัย เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ดังที่เอ่ยไว้ในเบื้องต้นแล้ว กีฬาประเภทนี้ยังเสริมสร้างความเท่ไปในตัวด้วยอีกต่างหาก...เพียงแต่ต้องขอทำความเข้าใจไว้นิดหนึ่งว่า...ภายใต้การออกกำลังกายที่สนุกนั้น ก็มีอันตรายที่แอบแฝงอยู่ การเล่นกีฬาชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บค่อนข้างสูง เพราะเป็นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยความเร็วบนพื้นผิวที่เรียบและแข็ง ซึ่งการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม  เสียการทรงตัว กระทบ กระแทก...เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจคลั่งไคล้กีฬาประเภทนี้จึงควรต้องไม่ลืมคำนึงถึงประเด็นนี้ และเพื่อความปลอดภัยก็ควรมีเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกัน สำหรับปกป้องอวัยวะต่าง ๆ จากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขณะที่กำลังสนุกกับการโลดแล่นไปตามเส้นทางไว้ด้วยทุกครั้ง... แต่ถึงแม้จะป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีแล้วก็ยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้เสมอ ดังเช่นนักกีฬาสมัครเล่นอย่าง “คุณกนกพร  อารยิกานนท์” ผู้มีนิคเนมว่า “คุณแอร์” ได้พลาดท่าขณะกำลังสนุกกับการเล่น “ลองบอร์ด” โดยได้หกล้มผิดท่าจนเป็นเหตุให้ “เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด” ทำให้ต้องไปเข้ารับการรักษาที่ “ศูนย์บาดเจ็บการกีฬา โรงพยาบาลลานนา” ในเวลาต่อมา ซึ่งเจ้าตัวได้เผยถึงเรื่องนี้ว่า

 




“...ปกติเป็นคนชอบออกกำลังอยู่แล้ว และยิ่งมารู้จักกับกีฬาสเก็ต หรือลองบอร์ด ก็รู้สึกว่าชอบเพราะมันสนุกและท้าทายด้วย โดยใช้เวลาฝึกซ้อมและเล่นกับเพื่อน ๆ เวลาว่าง หรือหลังเลิกงาน ซึ่งวิธีเล่นเบื้องต้นของกีฬานี้ก็คือขึ้นไปยืนบนสเก็ตบอร์ด แล้วใช้เท้าไถกับพื้นดันไปข้างหน้า สลับเท้าซ้าย เท้าขวา และทรงตัวอยู่บนบอร์ดไปตามเส้นทางที่เราเล่นนั่นเอง และวันหนึ่งขณะกำลังเล่น จู่ ๆ ก็พลาดลื่นหกล้ม  ยังดีที่พอมีสติ ตอนล้มจะล้มช้า ๆ แบบค่อย ๆ นั่งลง ซึ่งก็พยายามทรงตัวไม่ให้ล้ม แต่มันค่อย ๆ พลิกไปเป็นท่านั่งพับเพียบ ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุทำให้หัวเข่าบิดตัว โชคดีที่ใส่อุปกรณ์เซฟตี้อยู่ทั้งตัว เลยไม่ถลอก ไม่บอบช้ำเท่าไหร่  แต่หลังจากที่ล้มปุ๊บ ก็รู้สึกเจ็บจี้ดแล้วร้อนที่หัวเข่าทันที ปวด ๆ ชา ๆ ขยับไม่ได้  รู้สึกเลยว่าเข่าไม่มีแรง ก็เลยนั่งพักสัก 10 นาทีจึงสามารถลุกขึ้นยืนพอทรงตัวได้ แต่ไม่ปกติเหมือนเดิม ยังดีที่พอจะกลับบ้านได้อยู่ หลังจากนั้นก็ได้รักษาอาการตัวเองด้วยการประคบหัวเข่า ทายา และกินยาก็เริ่มดีขึ้นจนเข่าเริ่มหายบวม ก็ใช้ชีวิตเรื่อยมา แต่ไม่นานหลังจากนั้นก็มาพลาดท่าล้มที่บ้านตัวเองอีก เพราะแค่เหยียบเชือกบนพื้นเท่านั้นเอง จึงเริ่มสังเกตว่าหัวเข่าตัวเองผิดปกติ เริ่มทรงตัวไม่อยู่ เข่าอ่อนแรงกว่าเดิม แต่ก็ยังฝืนเพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หายได้เอง จนไปเล่นแบดมินตันแล้วก็เป็นซ้ำอีกรอบคือยิ่งเล่นก็ยิ่งเจ็บ โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือการซ้ำเติมให้อาการหนักกว่าเดิม ทำให้เข่าที่บาดเจ็บจากฉีกกลายเป็นขาดได้จนอาการเจ็บจี๊ดไม่ยอมหาย เพราะเราไม่เข้าใจปัญหาของการบาดเจ็บจึงนำไปสู่อาการเรื้อรัง และหนักกว่าเดิมและเริ่มรู้สึกว่านี่ไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว จึงตัดสินใจไปที่ศูนย์บาดเจ็บการกีฬา โรงพยาบาลลานนา เพื่อให้คุณหมอด้านเวชศาสตร์การกีฬาช่วยรักษาอาการค่ะ...”

ไม่ได้คิดผ่าตัดรักษาเพราะคิดว่าหายเองได้ 
!!

ต้องขอชื่นชมการตัดสินใจของ “คุณแอร์” ที่มีความเข้าใจในเรื่องของการรักษาภาวะอาการที่เกิดขึ้นโดยได้เล็งไว้ก่อนว่าควรต้องไปพึ่งพาหาหมอที่ชำนาญการเฉพาะทางน่าจะถูกที่ถูกทางกว่า จึงทำให้ได้รับการดูแลจาก “นพ.ศศินทร์ ศรีสกุล...แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา และการผ่าตัดผ่านกล้องข้อหัวเข่าและหัวไหล่” ซึ่งประจำอยู่ที่ “ศูนย์บาดเจ็บการกีฬา รพ.ลานนา” นั่นเอง โดยที่ “คุณหมอศศินทร์” ให้ข้อมูลกรณีนี้ว่า


    “...เป็นภาวะอาการอันเกิดจาก เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด ที่เรียกย่อ ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า ACL ซึ่งเป็นภาวะที่พบบ่อยในคนที่เล่นกีฬา หรือแม้แต่ในคนทั่วไปที่ไม่ได้เล่นกีฬาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกบันได เข่าพลิก หรือ เข่าบิด โดยคนไข้มักจะมาด้วยอาการปวดเข่าเฉียบพลันหลังการบาดเจ็บ อาจจะได้ยินเสียงดัง หรือเสียงลั่นในข้อ มีอาการปวดเข่า เข่าบวม ไม่สามารถเล่นกีฬาต่อได้ ถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง อาจไม่สามารถตรวจเจอได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไข้มักจะกลับไปเดินได้หลังจากหายปวดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งตรงนี้เอง ผู้ป่วยบางคนมักจะละเลยการรักษา เพราะคิดว่าตัวเองหายดีแล้ว แต่เมื่อกลับไปเล่นกีฬาหรือ ใช้งานอีก จะรู้สึกว่าข้อเข่าไม่มั่นคง โยกเยก หรือเจ็บปวดข้อเข่ารุนแรง จนไม่สามารถทำกิจกรรมต่อได้ และเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด หากไม่รักษา จะส่งผลต่อกระดูกข้อเข่าในระยะยาว จนอาจกลายเป็นข้อเข่าเสื่อมในอนาคตได้อีกด้วยครับ...”

     หลังจากได้ทราบจากคุณหมอว่า “เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด” ทำให้ “คุณแอร์” รู้สึกตกใจเพราะไม่คิดว่าหกล้มแค่นี้ถึงกับเอ็นขาดเชียวหรือ ซึ่งตอนแรกผู้ป่วยรายนี้ยังลังเลว่าจะรักษาแบบไหนและได้ไปปรึกษาคนรอบข้างที่เล่นกีฬาด้วยกันและบางคนก็มีอาการแบบเดียวกัน แต่ไม่มีใครเลือกไปรับการผ่าตัดโดยบอกกันว่าออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อก็ หายได้เหมือนกัน แต่หลังจากที่ได้หารือกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาโดยตรงแล้วช่วยให้ทราบว่าหากปwล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่รักษา อาจส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้ และเนื่องจากอายุยังไม่มากถ้าหากเข้ารับการผ่าตัดตอนนี้จะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และยังสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้...นอกจากนี้คุณหมอยังได้อธิบายถึงการผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าด้วยว่าปัจจุบันที่ความก้าวหน้าไปถึงขั้นที่มีการใช้ “เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง” ซึ่งไม่น่ากลัวอย่างที่ใคร ๆ เข้าใจ จึงตัดสินใจให้คุณหมอผ่าตัดรักษาด้วยเทคโนโลยีนี้ในที่สุด 

“ทางเลือกใหม่” สำหรับการรักษาอาการ

     ก่อนหน้านี้การรักษาภาวะอาการแบบเดียวกับที่เกิดกับ “คุณแอร์” จะเป็นการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเกิดผลข้างเคียงหลังการรักษา ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยต้องเสียเลือดมากระหว่างการผ่าตัด รวมทั้งกล้ามเนื้อรอบ ๆ หัวเข่าจะเกิดการบอบช้ำจากการผ่าตัดจึงส่งผลให้ต้องพักรักษาตัวหลายวัน จึงเป็นที่มาของการนำ “เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้อง” มาเป็น “ทางเลือก” สำหรับยุคปัจจุบัน โดย “คุณหมอศศินทร์” อธิบายว่า

“..ข้อดีอย่างแรกคือแผลมีขนาดเล็กลงจึงช่วยให้การบาดเจ็บเนื้อเยื่อน้อยกว่า ฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วกว่า และโอกาสที่เข่าจะยึดติดก็น้อยลง นอกจากนี้การผ่าตัดแบบผ่านกล้องจะช่วยให้แพทย์มองเห็นพยาธิสภาพในข้อเข่าได้ชัดเจนกว่าเพราะมีเลนส์มาขยายให้ปรากฏเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอรับภาพ ประกอบกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้องมีขนาดเล็กสามารถสอดเข้าทำการผ่าตัดในพื้นที่แคบ ๆ ในเข่าได้สะดวก โดยที่เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องยังช่วยให้แพทย์สามารถเย็บซ่อม หรือเจียร์หมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้นอีกด้วยครับ...”

     เพราะอย่างนี้เอง “คุณแอร์” จึงสามารถลุกขึ้นเดินได้เลยในวันต่อมาหลังการผ่าตัดโดยใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงเดิน และพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์คุณหมอก็อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว...อีกไม่นานก็คงไปโลดแล่นบน “ลองบอร์ด” ตามเดิม...