ที่มา-สาเหตุของอาการปวดนาน
5 ปี
หลังจากทำหน้าที่รับใช้ “เจ้านาย”
ผู้เป็นเจ้าของ “ข้อเข่า-ข้อเท้า” มาเป็นเวลากว่า 50 ปีก็เริ่มทำท่าออกอาการรวนเรส่งผลให้ขาแข้งเริ่มปัดเป๋และตามมาด้วย
“ความเจ็บปวด” ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมา 5
ปีจนในที่สุด “คุณสมศักดิ์ ปาลีตา” มีอายุได้ 59 ปีก็มีความเข้าใจชัดเจนว่าได้ประสบปัญหาภาวะข้อเข่าและข้อเท้าเสื่อมเข้าให้แล้ว
โดยเจ้าตัวได้ลำดับความเกี่ยวกับภาวะอาการที่สร้างความทุกข์ในช่วงนั้นว่า
“...เริ่มรู้สึกว่าปวดเข่าและข้อเท้ามา 5 ปีทำแล้วและมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากต้องขับรถตู้เป็นเวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน
และพอลงจากรถจะรู้สึกถึงอาการปวดเข่า เวลาเดินจะได้ยินเสียงก๊อกแก๊กโดยมีอาการปวดร้าวบริเวณเข่าและข้อเท้าร่วมด้วย
รวมถึงมีอาการบวม เข่านูน ขาโก่งเสียรูปอีกต่างหาก นอกจากจะทำให้เสียความมั่นใจในบุคลิกภาพแล้วยังปวดทรมานมากเวลาเดิน
ใช้ชีวิตประจำวันด้วยความยากลำบากจริง ๆ ครับ...”
เมื่อ “คุณสมศักดิ์”
เริ่มรู้ตัวว่าชักจะปวดเข่า-ปวดข้อเท้าหนักขึ้นจึงไปรักษาที่ โรงพยาบาลตามสิทธิ์
รวมทั้งแวะเวียนไปตาม คลินิกต่าง ๆ ก็ได้รับการบำบัดรักษาด้วยการทานยาแก้ปวดบ้าง
ทำกายภาพบำบัดบ้าง และได้รับการฉีดยาบ้าง
แต่อาการปวดก็ทุเลาลงได้แค่ไม่นานเพราะหลังจากหมดฤทธิ์ยาความปวดก็คืนกลับมาเหมือนเดิมอันเป็นผลจาก
“โรคข้อเสื่อม” ตามที่ได้ทราบจากคุณหมอผู้ตรวจ...แต่เวลาที่ไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์เพื่อเข้ารับการรักษาทีไรก็ต้องรอคิวนานเพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากไปรอรักษาเช่นกันจึงตัดสินใจไปที่

“ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” จะได้ไม่ต้องรอนานกว่าจะได้รับการตรวจรักษาอาการจาก
“โรคข้อเสื่อม” ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุกับผู้คนหลายวัยที่ใช่ว่าจะมาเล่นงานเฉพาะผู้สูงวัยเท่านั้น
โดยเฉพาะใครที่ใช้ข้อเข่า-ข้อเท้าหนักเกินกำลังทั้งจากการทำงาน หรือการออกกำลังกาย
หรือจากการบาดเจ็บ และพอนานวันเข้าจะส่งผลให้ “ข้อ” เหล่านี้เกิดอาการปวด
อักเสบกลายเป็นโรคข้อเข่า ข้อเท้าเสื่อม ยิ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
เสียการทรงตัว และล้มง่าย รวมทั้งสร้างความเจ็บปวดทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันได้ในที่สุด
ดังกรณีของผู้ป่วยรายนี้ที่ต้องเจอภาวะ “ข้อเข่าและข้อเท้าเสื่อมระยะสุดท้าย”
ตนต้องไปเข้ารับการรักษาที่ “ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา”
ในที่สุด
ปวดข้อเข่า-ข้อเท้า ใช้เทคโนฯ ก้าวหน้ารักษาได้
หล้งจาก “นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้าโรงพยาบาลลานนา” ได้ตรวจวินิจฉัยให้แล้วได้อธิบายให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยว่า
“...จากผลการตรวจเอกซเรย์ทั่วไปรวมทั้งการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ
MRI แล้ว ก็เห็นได้ชัดเจนว่ามีภาวะข้อเข่าเสื่อมทั้งซ้ายขวา
และมีข้อเท้าเสื่อมทั้งสองข้างจนทำให้ขาโก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดเวลาเดินหรือลงน้ำหนักจนมาถึงขั้นที่กระดูกข้อเข่า
และข้อเท้าเสื่อมระยะสุดท้ายแล้ว และจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
โดยหมอเห็นว่าควรจะรักษาอาการของข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับแรกด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทีละข้างก่อนเพื่อจัดแนวกระดูกขาให้ตรง
จะได้ไม่ส่งผลต่อการใช้งานของข้อเท้า หลังจากหายดีและขาไม่โก่งงอแล้วจึงค่อยมาวางแผนการรักษาข้อเท้าที่เสื่อมต่อไป
ทั้งนี้โดยจะรักษาภาวะข้อเท้าเสื่อมด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้องครับ...”

“คุณหมอปรัชวาล” ได้อธิบายด้วยว่าระยะแรกของการรักษาโรคกระดูกข้อเท้าเสื่อมโดยทั่วไปนั้นแพทย์จะเริ่มด้วยการให้ทำกายภาพบำบัด
ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หรือมิฉะนั้นก็ตัดรองเท้าให้รองรับกับสรีระเท้าอย่างลงตัวรวมถึงให้ออกกำลังกายภายใต้การแนะนำของแพทย์ก่อน
เพื่อยืดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น
และใช้ยาแก้ปวดและยาบำรุงผิวข้อซึ่งจะช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดไปก่อน
แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีเหล่านี้สักระยะหนึ่งแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
หรืออาจจะรุนแรงกว่าเดิมจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จึงจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด
ซึ่งในกรณีของ “คุณสมศักดิ์” นั้นคุณหมอได้พิจารณาเห็นควรใช้การรักษาแบบ “เชื่อมข้อเท้า...ด้วยเทคนิคการส่องกล้อง
Arthroscopic assisted ankle
arthodesis” โดยให้รายละเอียดในส่วนนี้ว่า
“...โดยปกติแล้วการผ่าตัดเชื่อมข้อเท้าจะมี
2 วิธีคือผ่าตัดแผลเปิดกับการส่องกล้อง ซึ่งมิใช่ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะสามารถทำการผ่าตัดโดยการส่องกล้องได้ทุกราย
หากแต่ต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป อย่างเช่นข้อเท้ามีสภาพการเอียงค่อนข้างมากก็ไม่สามารถทำให้คืนกลับมาสู่ลักษณะปกติได้ซึ่งกรณีแบบนั้นก็ต้องใช้การผ่าตัดแบบแผลเปิด
แต่ข้อเท้าของผู้ป่วยรายนี้เอียงจากเดิมไม่มากนักจึงสามารถใช้เทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้องได้
และปรากฏว่าผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี-น่าพอใจ หลังจากได้รับการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและลักษณะขากลับมาอยู่ในแนวตรงเหมือนเดิมโดยที่แผลจากการรักษามีขนาดเล็กจำนวน
2-3 รูจึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวกว่าการผ่าตัดแบบเปิดครับ...”
ผู้ป่วยเผย “พ้นทุกข์ทรมานเหมือนได้ชีวิตใหม่”
สรุปว่า “คุณสมศักด์”
ได้ใช้เวลาเข้ารับทำการรักษาโดยการผ่าตัดทั้งหมด 3 รอบเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า
ซึ่งเจ้าตัวเผยความรู้สึกดังนี้
“...หลังจากรักษาแล้วผมไม่มีอาการปวดเข่ากับข้อเท้ามารบกวนอีกเลย
ทั้งยังกลับมาเดินได้อย่างมั่นใจ ยิ่งกว่านั้นคือแนวขา 2 ข้างก็กลับมาตรงเหมือนก่อนหน้าที่จะเกิดอาการทำให้หมดกังวลเรื่องว่าจะเสียบุคลิก
ก็เหมือนกับว่าได้ชีวิตใหม่กลับคืนมา เพราะฉะนั้นจึงขอฝากมาบอกเล่าให้ท่านที่เจออาการปวดเข่า
ปวดข้อเท้าแบบผมและอยากจะหายจากอาการที่เป็นอยู่ละก็...อย่าไปกลัวการผ่าตัดนะครับเพราะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด...ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน-เหมือนกับแค่ว่าเราหลับไป
พอตื่นมาก็ผ่าตัดเสร็จแล้ว และหลังจากนั้นก็รู้สึกดีขึ้นมาก เหมือนได้ชีวิตใหม่เลยครับ...ส่วนการปฏิบัติตัวหลังจากนั้นก็แค่ทำกายภาพและฝึกทำท่าบริหารร่างกายตามที่โรงพยาบาลได้ให้คำแนะนำอย่างเคร่งครัดเป็นใช้ได้ครับ...”
ต้องขอบคุณ
“คุณสมศักดิ์ ปาลีตา” ที่ได้กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์ความทุกข์ทรมานจาก
“โรคข้อเข่า-ข้อเท้าเสื่อมระยะสุดท้าย” ตลอดทั้งขอขอบคุณข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์จาก
“คุณหมอปรัชวาล” หรือ “นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้าโรงพยาบาลลานนา” มา ณ โอกาสนี้ด้วยเลยนะครับ
เข่าเสื่อม
เลี่ยงไม่ได้ แต่ชะลอได้ ... มาตรวจเช็คสุขภาพข้อเข่าตั้งแต่วันนี้
เพื่อให้แพทย์ช่วยประเมินอาการ วางแผนการรักษา รวมทั้งการดูแลตัวเอง เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา
“ข้อเข่าเสื่อม” จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ
ได้ที่ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา โทร.052-134-777