โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

10 กันยายน 2562

มัจจุราชเงียบซ่อนแอบ...EKG ตรวจไม่พบ!! เจอได้เมื่อ รพ.ลานนาให้ ผป.เดินสายพาน



แม้จะรักษ์สุขภาพจริงจัง...ก็อย่าวางใจ
มีเรื่องจริงจากประสบการณ์ของผู้ป่วยชายชาวเชียงใหม่วัย 65 ซึ่งมีโรคประจำตัวคือ “เบาหวาน” กับ “ความดันโลหิตสูง” เป็นทุนเดิมมาหลายปีแต่ด้วยความที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจประกอบกับการเป็นผู้ที่ชอบออกกำลังกายอยู่แล้วทำให้ “คุณชำนาญ เจียมหาทรัพย์” จัดเวลาทำกิจวัตรประจำวันด้วยการวิ่งรอบหมู่บ้านที่อาศัยอยู่เป็นระยะทางประมาณ 4 กม.เรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อช่วง 2-3 เดือนก่อนได้เกิดปัญหามลภาวะฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ จ.เชียงใหม่ดังได้ทราบกันแล้ว จึงเป็นผลให้ “คุณชำนาญ” จำเป็นต้องพักการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ชื่นชอบนานถึง 2 เดือนจนกระทั่งปัญหาที่ว่าได้คลี่คลายแล้วจึงหวนกลับมาวิ่งเพื่อสุขภาพของตนเองต่อ...แต่คราวนี้มีบางอย่างไม่เหมือนเดิมจนรู้สึกได้โดยเจ้าตัวเล่าว่า
“...หลังจากออกวิ่งได้ไม่นานก็รู้สึกผิดปกติเพราะได้เกิดอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยเร็ว หายใจได้ไม่เต็มที่ และที่สำคัญคือจะเจ็บมากขึ้นเมื่อยิ่งออกแรงวิ่ง ผมจึงหยุดพักทุกกิจกรรมและไปปรึกษาคุณหมอเพราะอยากค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อนครับ...”
“หมอจอแก้ว” เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเดาออกว่า “คุณชำนาญ” เจออะไรเข้าให้แล้ว...ซึ่งเป็นการเดาที่ไม่ผิดหรอกครับเพียงแต่ว่ามันไม่ง่ายที่จะไปตรวจแล้วพบได้ทันอกทันใจอย่างที่ใคร ๆ คาดคิด...ทำให้ทั้งผู้ป่วยและคุณหมอโรคหัวใจประจำ “โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่”  ต้องมีภาระในการออกแรงเพิ่มขึ้นเพราะถึงอย่างไรก็ต้องค้นหา “เจ้าตัวการ” จนกว่าจะจับได้คามือ...

มีฤทธิ์ร้ายกาจแล้วยังเล่นซ่อนหาเก่งอีก
รกเริ่มของกระบวนการตรวจหาอาการผิดปกติให้ “คุณชำนาญ” นั้น นพ.รัตนชัย ชาญชัย แพทย์ประจำศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา ในฐานะเจ้าของไข้ได้ซักประวัติเบื้องต้นตั้งแต่ในแง่ของสุขภาพ ไล่เรียงไปจนถึงอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะของการเจ็บหน้าอก ซึ่งเมื่อฟังแล้วคุณหมอตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจจึงให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเช็คด้วย “การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ” หรือ  EKG’ เพื่อให้ทราบถึงคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจได้

แต่ผลที่ปรากฏคือ...คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยรายนี้มีลักษณะปกติ!!!

แต่ด้วยประสบการณ์ของคุณหมอจึงทราบดีว่าถึงแม้ว่าผล EKG จะปกติ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าจะไม่เป็น “โรคหัวใจ”... จึงได้แนะนำให้ “คุณชำนาญ”  ได้เข้ารับ “การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย” ที่คุณหมอเรียกอย่างย่อว่า EST (Exercise Stress Test ) ซึ่งเป็นการให้ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ และปรากฏว่าขณะที่ออกแรงเดินบนสายพานเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจผ่านไปได้ประมาณ 3 นาที “คุณชำนาญ” ก็รู้สึกแน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออกทำให้จำเป็นต้องยุติการทดสอบไว้เพียงเท่านั้นโดยคุณหมอได้เห็นข้อมูลความผิดปกติจากกราฟแสดงผลซึ่งอธิบายได้ว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการออกกำลังกายจะเป็นผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและต้องการได้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย แต่หากมีหลอดเลือดหัวใจเส้นใดตีบจะเท่ากับปิดกั้นกระแสการไหลเวียนของเลือดมิให้เข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จึงก่อให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็นในขณะที่เดินทดสอบ และเมื่อได้ประจักษ์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว “คุณหมอรัตนชัย” ก็สามารถวินิจฉัยได้เลยว่าผู้ป่วยรายนี้มีภาวะของ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ซึ่งขั้นตอนที่ช่วยยืนยันได้ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ “การฉีดสีเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจ” ซึ่งจะช่วยบอกถึงตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบตันอันจะช่วยให้คุณหมอทำการใส่ขดลวดและบอลลูนขยายหลอดเลือดรักษาอาการของ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ให้ผู้ป่วยโดยไม่ต้องใช้วิธี “ผ่าตัด” 
ด้วยศักยภาพและความพร้อมครบครันดังกล่าวได้ส่งผลให้ “ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ” รพ.ลานนา เชียงใหม่ ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการ “รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยทำการขยายด้วยบอลลูนที่ไม่ต้องผ่าตัด” ดังที่ได้รักษาให้กับ “คุณชำนาญ” เป็นที่เรียบร้อยเมื่อไม่นานนี้เอง...และเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับความกระจ่างเพิ่มขึ้น “คุณหมอรัตนชัย” ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจว่า “การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ” ทำได้โดยการ ใส่ท่อขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ หรือข้อมือขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย จากนั้นจะสวนท่อเข้าไปตามหลอดเลือดจนถึงหลอดเลือดหัวใจ แล้วใส่สายขนาดเล็กผ่านท่อไปยังบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่ตีบก่อนใส่บอลลูนเข้าไปตามสายให้ไปสู่จุดที่หลอดเลือดหัวใจตีบ จากนั้นจึงขยายบอลลูน เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดผ่านสายตามเข้าไปค้ำบริเวณที่ขยายบอลลูน เพื่อไม่ให้หลอดเลือดหัวใจบริเวณนั้นกลับมาตีบซ้ำอีก และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการทำบอลลูนหัวใจขยายหลอดเลือดหัวใจนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะทาง และความชำนาญของแพทย์โรคหัวใจที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญแล้ว


เอาละ ไมว่าจะอย่างไรก็ตามแต่มันก็ทำให้เกิดอาการ “ใจหายใจคว่ำ” ได้ไม่น้อยทีเดียวสำหรับใครที่เจอฤทธิ์ของ “โรคหัวใจขาดเลือด” ที่เรียกว่าเป็นมัจจุราชเงียบจอมอำมหิตซึ่งที่คร่าชีวิตผู้คนมาแล้วอย่างมากมาย และเป็นปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่แล้วมักเจอความผิดปกติจากการตรวจสุขภาพหัวใจ ซึ่งถือเป็นความโชคดีที่พบปัญหาตั้งแต่ต้น และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ก็มีอีกหลายคนที่โชคร้าย ไม่เคยตรวจสุขภาพหัวใจ หรือแม้แต่สังเกตอาการของตนเอง จนกระทั่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตได้ในที่สุด!!!

“อุ่นใจ..ใกล้หมอ” จึงขอฝากเตือนมายังท่านผู้อ่านชาวเหนือให้เพิ่มความระวังให้มากและขอกระซิบส่งท้ายด้วยว่า...อย่าไปล้อเล่นกับ “มัจจุราชเงียบ” โดยเด็ดขาด!!!