โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

10 พฤศจิกายน 2564

หนุ่มวัย 47 ปีนึกไม่ถึงว่าจะถูก “มัจจุราชเงียบ” โจมตีไม่รู้ตัว!! รพ.ลานนาใช้เทคโนฯ ขยายหลอดเลือดผ่านข้อมือแทนผ่าตัด


หนุ่มวัย 47 ปีนึกไม่ถึงว่าจะถูก “มัจจุราชเงียบ” โจมตีไม่รู้ตัว!!
รพ.ลานนา ใช้เทคโนฯ ขยายหลอดเลือดผ่านข้อมือแทนผ่าตัด


จู่ ๆ ก็ใจสั่น-เจ็บหน้าอก-ปวดร้าวถึงกราม

นั่งทำงานอยู่ดี ๆ แต่ไหงจึงใจสั่นริก ๆ พร้อมกับเจ็บหน้าอกแล้วตามมาด้วยอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงกราม จน “คุณอภิชาติ สุขสวัสดิ์” ต้องรีบพาตัวเองไปที่ห้องพยาบาลของสำนักงานโดยไม่รอช้าเพื่อตั้งหลักหาสาเหตุแต่อาการก็ไม่ดีขึ้นแม้จะผ่านไปหลายนาทีแล้ว เจ้าตัวจึงรีบขับรถบึ่งไปโรงพยาบาลใกล้ตัวไว้ก่อนและได้รับการตรวจวินิจฉัยอาการอย่างเร่งด่วนจึงทราบจากแพทย์ผู้ตรวจถึงที่มาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจาก “ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน”ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนโดยโรงพยาบาลที่ได้เข้าไปรับการตรวจและเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายได้ประสานส่งต่อไปยัง “ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา”ซึ่งมีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจประจำการและพร้อมใช้เทคโนโลยีการรักษาอันทันสมัยไว้ตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่กำลังเผชิญ “ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน”ซึ่งทุกเวลานาทีจะมีค่าสำหรับทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษาอันเนื่องมากจากข้อจำกัดด้านเวลาในการยื้อชีวิตผู้ป่วยให้พ้นจากการเป็นเหยื่อของ “มัจจุราชเงียบ” ให้บรรลุผลสำเร็จ...โดยคุณหมอผู้รับผิดชอบในกรณีของ “คุณอภิชาติ” คือ “นพ.รัตนชัย ชาญชัย...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ” ประจำ

“ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา” ได้สั่งเตรียมพร้อมเพื่อทำการขยายหลอดเลือดหัวใจให้ลุล่วงภายในเวลา 90 นาทีตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล จึงสามารถใช้เทคโนโลยีบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือของผู้ป่วยได้เป็นผลสำเร็จในเวลา 67 นาทีหลังจากผู้ป่วยมาถึง “ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา” ทั้งนี้โดยมิได้มีการผ่าตัดแต่อย่างไร 

“แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ” รับบทสำคัญ...


ลังจากได้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยรายนี้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว “คุณหมอรัตนชัย” ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก “เทคโนโลยีทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ” จะต้องทำโดย“แพทย์มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ” เท่านั้นโดย...ใส่ท่อขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือก่อนที่แพทย์จะสวนท่อเข้าไปตามหลอดเลือดจนถึงตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจที่มีการตีบตันอยู่ แล้วใส่บอลลูนก่อนปั๊มให้ขยายตัวขึ้นเป็นช่องทางไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และตามด้วยการใส่ขดลวดไปค้ำยันหลอดเลือดเพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดหัวใจนั้นกลับมาตีบซ้ำอีก...ทั้งนี้โดยคุณหมออธิบายเสริมว่า

“...เทคโนโลยีการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางข้อมือที่ว่านี้จะมีความปลอดภัยกว่าการสวนผ่านเข้าไปทางขาหนีบ เนื่องจากหลอดเลือดอยู่ตื้นและไม่มีอวัยวะใกล้เคียงที่มีโอกาสบาดเจ็บ แพทย์สามารถทำการหยุดเลือดที่ปากแผลที่ใช้เป็นช่องทางหลังสอดอุปกรณ์เข้าไปดำเนินการได้ง่ายกว่า โดยจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะผสมผสานกับความชำนาญของแพทย์มากกว่าการใช้ขาหนีบเป็นช่องทาง ถือเป็นเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ที่ให้ผลการรักษาที่ดี และหลังจากผ่านการสวนขยายหลอดเลือดหัวใจทางข้อมือแล้วผู้ป่วยไม่ต้องนอนหงายในท่าเดิมเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง...จึงใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลระยะสั้นก่อนที่แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติโดยมีแผลเป็นขนาดเล็กที่บริเวณข้อมือครับ...”


สัญญาณเตือนที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน!!

ย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ “คุณหมอรัตนชัย” ได้ขอฝากไว้ด้วยก็คือ...โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าHeart Attack หรือ Acute myocardial infarction ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายนี้จะมีข้อสังเกตหรือ “สัญญาณบ่งชี้”คือผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บแน่นอกติดต่อกันมากกว่า 20 นาทีขึ้นไปละก็จะมีโอกาสสูงสำหรับการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งควรต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยให้ระยะเวลาของการอุดตันยิ่งนานมากขึ้นเพียงใดก็จะยิ่งเพิ่มพื้นที่การตายของกล้ามเนื้อหัวใจไปมากขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้!!...และนี่คือประเด็นสำคัญที่ “นพ.รัตนชัย ชาญชัย” ฝากไว้ในฐานะที่เป็น “แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ” ประจำ“ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา”ซึ่งผ่านประสบการณ์ในการช่วย “ยื้อชีวิต” ของผู้ป่วยที่เกิดภาวะอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันมาไม่น้อยรายแล้วรวมทั้ง“คุณอภิชาติ”ที่เป็นรายล่าสุดที่ได้รอดพ้นจากเงื้อมมือของ “มัจจุราชเงียบ” ได้อย่างทันท่วงทีหลังจากเกิดเหตุระทึกขวัญครั้งสำคัญในชีวิตขณะที่มีวัย 47 ปี ทำให้เกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตในช่วงที่ผ่านมาโดยได้เผยความในใจหลังการรักษาว่า

“...ถือว่าการเข้ารับการรักษาครั้งนี้เป็นการเข้าห้องผ่าตัดใหญ่เป็นครั้งแรกของผม แต่ก็ไม่ได้รู้สึกกลัวเหมือนอย่างที่เขาบอกกันมา ยิ่งได้มาเจอกับคุณหมอที่ให้คำแนะนำและรักษาผมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับความเชี่ยวชาญของคุณหมอทำให้ผมผ่านพ้นความตายมาได้โดยที่ผมเองก็รู้สึกตัวตลอดเวลาที่คุณหมอให้การรักษา ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว...แต่การที่ต้องมาเข้าโรงพยาบาลครั้งนี้มีส่วนช่วยผมอย่างมากในแง่ที่ต้องตระหนักถึงเรื่องของสุขภาพให้มากขึ้น และคงต้องลด ละ เลิกความเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นตัวการให้ผมต้องเจอปัญหาของโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสูบบุหรี่ หรือทานอาหารตลอดทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้โรคหัวใจกลับมาหาผมอีกต่อไปครับ...ต้องขอขอบคุณคุณหมอรัตนชัย และเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลลานนา ทุกท่านที่ได้ดูแลผมตลอดการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาแห่งนี้ครับ...

“หมอจอแก้ว” มีข้อสังเกตที่อยากสะกิดเตือนท่านผู้อ่านในเรื่อง “วัย” ของผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในช่วงที่อาจพูดได้ว่ายังเป็นเพียง “หนุ่มใหญ่” ที่ยังห่างจากความเป็น “ผู้สูงวัย” ด้วยซ้ำ แต่ต้องมาเจอ “ภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” จนหวิดพลาดท่าเสียทีให้กับ “มัจจุราชเงียบ” เข้าให้แล้ว ส่วนสาเหตุที่เกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นมาก็คงไม่มีใครทราบดีเท่าเจ้าตัวอย่างแน่นอนจึงได้ฝากความในใจมาในตอนท้ายซึ่งเป็นเรื่องของ “พฤติกรรมการใช้ชีวิต” นั่นเองที่เป็นปัจจัยสำคัญมาหนุนนำให้เกิดเหตุ...จึงหวังอย่างยิ่งว่าประเด็นนี้จะช่วยเป็น “เครื่องเตือนใจ” สำหรับท่านผู้อ่านชาวเชียงใหม่ทุกท่านที่ติดตามอ่าน “อุ่นใจ...ใกล้หมอ” ในวันพุธนี้นะครับ