โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

30 มีนาคม 2565

“นิ้วเท้าเอียงผิดรูปแต่เด็ก” มาเจ็บปวดทรมานเมื่อวัย 41 รพ.ลานนา “ผ่าตัดรักษาเท้า” กลับมาตรง-หายปวด!!

 

“นิ้วเท้าเอียงผิดรูปแต่เด็ก” มาเจ็บปวดทรมานเมื่อวัย 41
รพ.ลานนา “ผ่าตัดรักษาเท้า” กลับมาตรง-หายปวด!!

เจอปัญหากับตัวเองโดยมิได้คาดคิดมาก่อน

ถึงแม้จะจัดอยู่ในกลุ่ม “คนส่วนน้อย” แต่ไม่ช้าไม่นานก็หนีไม่พ้นต้องเจอปัญหาสุดทนสำหรับคนที่เจอภาวะ “หัวแม่เท้าเอียงผิดรูป” ดังที่เกิดกับหนุ่มใหญ่ชาวเชียงใหม่วัย 41 ปีผู้มีนามว่า “ชาญชัย ทาสุธะ” ซึ่งเจ้าตัวเปิดเผยถึงกรณีที่มาสร้างปัญหาโดยมิได้คาดคิดมาก่อนว่า

“...ภาวะนิ้วเท้าเอียงของผมเป็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เพียงแต่ว่าตอนเด็กนั้นมันไม่ได้มีอาการเจ็บหรือปวดแต่อย่างใด ยังสามารถใช้งานได้เป็นปกติ จะมีก็แค่ลักษณะของกระดูกนิ้วเท้าปูดออกมาแต่ก็ไม่ได้เอียงมากนักและใช้ชีวิตได้เป็นปกติเรื่อยมา และบังเอิญเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายมากโดยเฉพาะการวิ่ง และปั่นจักรยาน แต่เมื่ออายุใกล้เข้าเลข 4 ก็เห็นได้ว่าเท้าของตัวเองเริ่มออกอาการเอียงผิดรูปมากขึ้น เริ่มมีการเจ็บเท้าจนไม่อาจใช้งานได้สะดวกดังเดิมจนเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตผมเมื่อ 2 ปีก่อนและเห็นได้ชัดว่าลักษณะของนิ้วเท้าเอียงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเห็นปุ่มที่เท้าโตขึ้นอย่างชัดเจน  จนเจ็บเท้ามากเวลาเดินหรือทำงาน รองเท้าเดิมที่เคยใส่คุมงานก็ใส่ไม่ได้แล้วต้องซื้อใหม่โดยเพิ่มขนาดขึ้นอีก ก็ยิ่งทำให้เท้าผิดรูปไปกันใหญ่ เวลาสวมใส่รองเท้าก็รู้สึกว่ามันไม่กระชับ ทำให้ยืนไม่สะดวก ทั้งยังเจ็บจนลามไปปวดเข่าอีก จึงทนไม่ไหวและตัดสินใจไปพบคุณหมอที่ โรงพยาบาลลานนาครับ...”


คุณหมอแจงข้อมูลความผิดปกติของนิ้วเท้า

ดังได้เกริ่นไว้ในตอนต้นแล้วว่า “คุณชาญชัย” อยู่ใน “กลุ่มคนส่วนน้อย” ที่เจอปัญหาดังที่ได้ถ่ายทอดมาให้ทราบใน “อุ่นใจ...ใกล้หมอ” วันพุธนี้ แต่ด้วยเหตุที่กรณีดังกล่าวนอกจากจะมิได้เป็นอันตรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิตแล้ว ยังเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ด้วยกระบวนการทางการแพทย์ ซึ่ง “นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้า” ประจำ “โรงพยาบาลลานนา” ได้ให้รายละเอียดว่า

“...ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Hallux Valgus หรือภาวะนิ้วโป้งเท้าเก เป็นลักษณะความผิดปกติของนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าหานิ้วชี้ และมีกระดูกหัวแม่เท้าทางด้านในนูนออกมา โดยเป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งอาจเกิดมาจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้า โดยที่ส่วนใหญ่เป็นจากการใส่รองเท้าบีบรัดปลายเท้า...โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงปลายแหลม...จึงพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้หญิง ทั้งยังจะพบความผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ...ในระยะแรก ๆ อาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่อาจสังเกตเห็นนิ้วเท้าตัวเองเอียง-ไม่สวยงาม บางรายอาจพบว่ามีอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้า หากสังเกตที่เท้าจะเห็นว่ามีลักษณะเหมือนมีปุ่มกลม ๆ นูนออกมาทางด้านข้างบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้าที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนิ้วเท้าเอียงจะทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่าง ๆ ของนิ้วเท้าผิดแนวไป จึงส่งผลให้เกิดการผิดรูป และเกิดความเจ็บปวดตามมาครับ...”

มีปัญหาที่เท้าต้องให้แพทย์เฉพาะทางด้านเท้ารักษา

ากนั้น “คุณหมอปรัชวาล” ได้อธิบายขั้นตอนการรักษา “ภาวะนิ้วเท้าเอียง” โดยระบุว่า

“...ในเบื้องต้นขณะที่เริ่มพบอาการในระยะแรก ๆ อาจเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม เลือกให้พอดีกับขนาดเท้า  หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า เช่น เจลคั่นนิ้วเท้า หรืออุปกรณ์กันนิ้วโป้งเบน มาช่วยบังคับมุมมิให้นิ้วโป้งเท้าเกเพิ่มมากกว่าเดิม ทั้งยังจะช่วยให้เอ็นรอบข้อนิ้วโป้งเท้าหย่อนจึงสามารถบรรเทาอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้งเท้าได้...นอกจากนี้ยังสามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อดัด หรือดึงข้อให้กลับมาอยู่ในแนวปกติได้มากที่สุด ทั้งนี้ควรใช้อุปกรณ์เสริมร่วมด้วย รวมไปถึงการรับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น...แต่สำหรับกรณีของผู้ป่วยรายนี้ได้มีอาการปวด และข้อนิ้วเท้าผิดรูปมาก จึงได้แนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งสามารถเลือกได้หลายวิธี โดยต้องพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายต่างกันไปตามลักษณะความผิดปกติของกระดูกนิ้วหัวแม่เท้า...

ทั้งนี้การผ่าตัดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูปจะใช้วิธีการผ่าตัดกระดูกที่นูนออก และตัดกระดูก เพื่อแก้ไขภาวะนิ้วผิดรูป แล้วยึดกระดูกด้วยโลหะ ร่วมกับการปรับแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบๆ โดยการผ่าตัดจะทำให้หายเจ็บเท้า เท้าแคบลง ทำให้เลือกใส่รองเท้าได้ง่ายขึ้น และลดความเจ็บปวดลงที่เกิดขึ้น ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขนิ้วเท้าเอียงนี้จำเป็นจะต้องใช้ความชำนาญของแพทย์อย่างมากเนื่องจากลักษณะของนิ้วและเท้ามีความซับซ้อน จึงต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านข้อเท้าเท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในที่สุดนั่นเองครับ...”


ผู้เคยเจอปัญหาเผยประสบการณ์-ให้คำแนะนำ

าดูกันนะครับว่า “คุณชาญชัย” ได้รับประสบการณ์จากการไปเข้ารับการผ่าตัดรักษาปัญหานิ้วเท้าเอียงผิดรูปโดยเป็นคนไข้ของ “นพ.ปรัชวาล เอี่ยมพร...แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เชี่ยวชาญพิเศษด้านข้อเท้า” ประจำ “โรงพยาบาลลานนา” แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเจ้าตัวเผยว่า

“...หลังผ่าตัดเสร็จผมนอนพักรอดูอาการที่โรงพยาบาลประมาณ 5 คืนก็สามารถกลับบ้านได้ จากนั้นคุณหมอได้ให้พักฟื้นดูอาการ และห้ามลงน้ำหนักที่เท้าประมาณ 6 สัปดาห์ และมาตามนัดคุณหมอทุกครั้ง ซึ่งอาการก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ นับว่าเป็นโชคดีของผมมาก ๆ ที่ได้พบกับคุณหมอเฉพาะทางด้านเท้าที่มีความชำนาญในการรักษาเป็นอย่างมาก ช่วยผ่าตัดแก้ไขนิ้วเท้าที่เอียงของผมให้กลับมาดีขึ้น ช่วยให้ไม่มีความเจ็บปวดจากเดิมที่เคยเป็นมา และสามารถเลือกใส่รองเท้าได้ง่ายขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมากกว่าเดิมทันทีเลย...แม้โรคนิ้วโป้งเท้าเอียง จะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ป้องกันไม่ได้แต่เมื่อเป็นแล้วจะสามารถสังเกตพบความผิดปกติได้ไม่ยาก ซึ่งหากผมรีบมาปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ ก็คงได้ทราบแนวทางการรักษาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวด และทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติไม่ต้องเจอปัญหาอย่างที่ผ่านมา หรือแม้จะเป็นมากก็มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด เพราะฉะนั้น หากท่านใดเห็นว่านิ้วโป้งเท้าของตัวเองหรือคนในครอบครัวเอียงผิดปกติ ไม่ว่าจะมีอาการเจ็บร่วมด้วยขณะเดินหรือไม่ ผมขอแนะนำให้รีบไปปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านเท้าไว้ก่อนเลยจะดีกว่า เพราะจะได้เข้ารับการตรวจ วินิจฉัย และวางแผนการรักษา เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องสี่ยงต่อการเจ็บปวดอย่างมากในอนาคต เหมือนที่ผมเจอมาแล้วครับ ...”