ลองได้เข้าสู่การแข่งขันในตำแหน่งใดก็ไม่ได้ส่งผลให้นักกีฬาที่พกหัวใจเต็มร้อยลงสนามไปด้วยเป็นต้องสู้สุดฤทธิ์ด้วยกันทั้งในเกมรุกและรับ...เรื่อง
“ปะทะ”
ไม่ต้องห่วง...ถึงเวลาแล้วเป็นต้องลุยให้กระเจิงกันไปข้างหนึ่งโดยไม่มียอมถอยหรือปล่อยผ่านไปง่าย
ๆ เด็ดขาด เพราะนอกจากต้องมุ่งไปให้ถึงดวงดาวแล้ว ยังมีโอกาสกลายเป็นฝ่ายตั้งรับซึ่งต้องรับบทป้องกันอีกเมื่อใดก็ยังไม่มีใครล่วงรู้...ดังนั้น
“การบาดเจ็บจากการปะทะ” จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ไม่อาจเลี่ยงได้เลยสำหรับกีฬาประเภทที่ต้องฝ่าด่านผ่านคู่แข่งขันให้ได้จึงจะเก็บแต้มตุนไว้ได้!!!... “กีฬาฟุตบอล” น่าจะเป็นตัวอย่างที่ช่วยให้ท่านผู้อ่านได้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ยิ่งหากมีความชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ทุกลมหายใจเข้าออกเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็จะยิ่งได้เห็นนักฟุตบอลต้องลงนอนบิดตัวด้วยความเจ็บปวดอยู่ในสนามโดยเฉพาะเมื่อมีการปะทะอย่างรุนแรงกับผู้เล่นอีกฝ่าย…!!!
หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการปะทะที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งกีฬาอย่างฟุตบอลไม่ว่าจะเป็นใน
“แมตช์” สำคัญระดับใดก็ตาม โอกาสที่จะเกิดแรงกระแทกและตามมาด้วยผลกระทบต่อ
“หัวเข่า” ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เสมอ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เข่าบิดถึงกับทำเอา
“เข่าบิด” และ “เอ็นไขว้หน้าเกิดการฉีกขาด”
โดยไม่ได้คาดคิด...แน่นอนว่าหากเจอถึงขั้นนั้นก็ย่อมก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา
และนักกีฬาที่บาดเจ็บต้องเสียโอกาสในการลงสนามอีกนานนับเดือน...หรือมิฉะนั้นอาจเป็นปีก็มี...ดังจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับ
“คุณธีระเชษฐ์ ธนันชัย” ผู้มีใจรักในกีฬาฟุตบอลอย่างถอนตัวไม่ขึ้นรายหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่
โดยที่ “คุณธีระเชษฐ์” ได้เปิดอกเล่าถึงเหตุที่ได้เจอมากับตัวเองว่า...
“ระหว่างที่ผู้เล่นของอีกฝ่ายลำเลียงลูกเข้ามา ผมวิ่งเข้าสกัดอย่างเร็วโดยไม่ได้คิดว่าหัวเข่าจะไปกระแทกกับอีกฝ่ายอย่างแรงถึงกับได้ยินเสียงดังกึ๊ก...พร้อมกับมีอาการเจ็บแปล๊บที่หัวเข่าทันทีก่อนที่จะล้มลง
ซึ่งหลังจากที่เพื่อน ๆ ได้ช่วยกันพยุงให้ลุกขึ้นไปพักที่ข้างสนามแล้วก็รู้สึกในตอนนั้นเลยว่าภายในหัวเข่าต้องมีอะไรบางอย่างฉีกขาดแน่นอน
และรู้สึกว่าหัวเข่าของเราไม่มั่นคงเหมือนเดิมเสียแล้ว...แต่สิ่งที่ทำให้ผมต้องระวังมากขึ้นหลังจากผ่านวันนั้นแล้วไม่ว่าจะเดิน
นั่ง ยืน นอน หรือทำอะไรก็ต้องระวังตัวมากขึ้นเพื่อไม่ให้หัวเข่าบิดมากเกินไป
เพราะจะทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ตลอดเวลา...กว่าจะเริ่มเข้าไปปรึกษาคุณหมออย่างจริงจังโดยหวังจะรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
เวลาก็ล่วงเลยไปประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ช่วยให้ทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นมีเหตุจากเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาเพื่อซ่อมเอ็นไขว้หน้าเข่าที่ฉีกขาดมานานแล้วนั่นเอง...”
ฝ่าด่าน “งานหิน” ด้วยเทคโนฯ
ผ่าตัดผ่านกล้อง...
เมื่อเห็นว่าจนแต้มโดยไม่อาจเลี่ยงการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแล้ว ทำให้ “คุณธีระเชษฐ์”
ได้หันเข็มมุ่งหน้าไปที่ “ศูนย์โรคปวดเข่า
โรงพยาบาลลานนา” ด้วยความมุ่งหวังที่จะรักษาอาการให้หายเป็นปกติตามเดิม
และได้พบกับ นพ.ภาสกร อุปโยคิน แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อประจำศูนย์ฯ
จึงได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าโดยคุณหมออธิบายว่า “...การรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าที่ฉีกขาดส่วนใหญ่แล้ว
จะไม่สามารถเย็บให้ไปติดกันใหม่ได้
จึงต้องสร้างเส้นเอ็นใหม่โดยแพทย์จะใช้เส้นเอ็นจากแหล่งของผู้ป่วยเอง คือ เอ็นสะบ้าติดกระดูก
และ เอ็นจากกล้ามแฮมสตริง ซึ่งอยู่ด้านในของเข่า แต่ปัจจุบันนิยม เอ็นจากแฮมสตริง
มากกว่าเพราะเอ็นสะบ้าอาจจะทำให้มีปัญหาในการใช้งานเข่าได้ในอนาคต โดยสามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ทั้งผ่าตัดแบบเปิดเข่า
แต่ผลข้างเคียงหลังการรักษานั้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดมาก
รวมทั้งกล้ามเนื้อรอบ ๆ หัวเข่าจะบอบช้ำจากการผ่าตัด
อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานาน แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันได้มีส่วนช่วยให้
ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา สามารถใช้ เทคนิคการผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้า
โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งจะส่งผลดีแก่ผู้ป่วยมากกว่าในอดีต...
ส่วนที่ว่าจะมี “ข้อดี”
อย่างไรนั้น “คุณหมอภาสกร” ให้รายละเอียดว่า... “เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง
จะมีข้อดีในแง่ที่ว่าแผลจากการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้มีขนาดเล็กลงจากการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
ทั้งยังช่วยลดการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อ ส่งผลให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น
และโอกาสเข่ายึดติดน้อยกว่า เพราะเหตุว่าเทคโนโลยีการผ่าตัดวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์มองเห็นพยาธิสภาพในข้อเข่าชัดเจนกว่าการผ่าตัดเปิดเข่าซึ่งมองด้วยตาเปล่า
ส่วนเลนส์ในกล้องจะทำหน้าที่ขยายภาพไปปรากฏที่จอรับภาพ นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้องมีขนาดเล็ก
สามารถสอดเข้าทำผ่าตัดในพื้นที่แคบ ๆ ในเข่าได้สะดวก อีกทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องยังช่วยให้แพทย์สามารถเย็บซ่อม
หรือ...กรอ...หมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้นด้วย...”
คราวนี้ “หมอจอแก้ว” ขอพาท่านผู้อ่านไปดูกันว่า “คุณธีระเชษฐ์”
รู้สึกอย่างไรหลังจากได้เข้ารับการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว...
“ผมพอใจในการผ่าตัดครั้งนี้มากเนื่องจากไม่มีแผลผ่าตัดเป้นแนวยาวเหมือนที่เคยเห็นมาก่อน
หลังผ่าตัดได้สองวันก็เริ่มเดินลงน้ำหนักได้บ้างแล้วและนอนพักที่โรงพยาบาล 3-4 วัน
คุณหมอก็อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
โดยที่การรักษาเรื่องเอ็นไขว้หน้าเข่านั้นจำเป็นที่ผมจะต้องกลับมาฟื้นฟูร่างกายให้เส้นเอ็นฟื้นตัวก่อนกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้งหลังจาก
6 เดือนไปแล้ว...ต้องขอขอบคุณ “คุณหมอภาสกร” รวมทั้งเจ้าหน้าที่
พยาบาลทุกท่านที่ดูแลผมตลอดการรักษาที่ โรงพยาบาลลานนาแห่งนี้ครับ”