ไม่เคยเจอการกระแทกกระทั้นใด
ๆ ที่หัวไหล่ของตัวเอง แต่อยู่ดี ๆ ก็เจ็บปวดขึ้นมาโดยเฉพาะเวลานอนท่าตะแคง
พอรุ่งขึ้นอีกวันก็เริ่มยกแขนข้างที่เจ็บขึ้นลงไม่ได้เหมือนกับว่าไม่มีแรง
แต่ไม่ได้คิดว่าจะเป็นอะไรมากจึงไม่ได้รักษาจริงจัง แค่ทายาหม่องและนวดอยู่เกือบ 2 เดือนก็ไม่หายจึงเริ่มคิดว่าไม่น่าจะใช่อาการทั่วไปแล้ว
เพราะขยับแขนเมื่อไหร่เป็นต้องเจ็บปวดทุกครั้ง บางทีอยู่เฉยๆ
ก็ปวดรุมเร้าอยู่ตรงนั้นอีกด้วย
จึงไปโรงพยาบาลลานนาเพื่อให้คุณหมอช่วยตรวจวินิจฉัยหาต้นเหตุที่แท้จริง... คุณทองสุข มูลขัติ ข้าราชการวัย 50 ปลาย ๆ
ได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไม่นานมานี้และเป็นผลให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาซ่อมแซมเอ็นหัวไหล่ที่ฉีกขาดโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวและเข้าใจดีว่าหัวไหล่ถูกใช้งานมากจนตัวเองมีวัยใกล้เกษียณแล้วจึงน่าจะเกิดการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
ซึ่งหลังจากคุณหมอได้ตรวจพบที่มาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดแน่นอนแล้ว
“คุณทองสุข” ก็ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด
โดยใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
และหลังจากผ่าเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับมาโดยตรงว่า
“...การรักษาข้อไหล่ด้วยการส่องกล้องนี้
ทำให้ผมได้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดไปโดยสิ้นเชิง จากความรู้เดิม ๆ
ที่เราเคยได้ทราบมาก่อนว่าการผ่าตัดจะเป็นแบบเปิดแผลและมีรอยแผลเป็นแนวยาวให้เห็น
ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน
แถมยังเจ็บตัวมากกว่าวิธีการผ่าตัดโดยการส่องกล้องที่คุณหมอใช้ผ่าให้ผม
และหลังผ่าตัดแล้วผมนอนพักฟื้นเพียง 2 คืนก็สามารถกลับบ้านได้แล้ว
หลังจากนั้นไม่ถึงเดือนก็สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ...”
เรื่องอย่างนี้ไม่ค่อยมีใครนำมาเล่าสู่กันฟังบ่อยนักซึ่งอาจเป็นเพราะกรณีเอ็นไหล่ฉีกไม่ใช่การเจ็บป่วยที่มีอันตรายรุนแรงถึงขั้นล้มหายตายจาก
แต่ถ้าจะว่าไปแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยปละละเลยโดยไม่ให้ความสำคัญนะครับ
เพราะเมื่อเกิดกรณีที่เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดขึ้นมาแล้วใช่ว่ามันจะสร้างความเจ็บปวดเท่านั้น
แต่ในระยะยาวจะไปไกลถึงขนาดใช้แขนข้างที่เอ็นหัวไหล่ฉีกขาดไม่ได้อย่างถาวรเลยทีเดียว
หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี ส่วนจะต้องรักษากันด้วยวิธีไหนอย่างไรบ้างนั้น
ต้องขอแรงคุณหมอที่รู้เรื่องนี้มาช่วยอธิบายดีกว่า... “นพ.ไกรพ วิวัฒนพณิชย์
แพทย์ผู้ชำนาญการส่องกล้องรักษาข้อต่อ ศูนย์โรคปวดเข่า
โรงพยาบาลลานนา” พูดให้ฟังว่า
“...เอ็นหัวไหล่
ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวส่วนบน ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างแขนบนและไหปลาร้าเข้าด้วยกัน
ซึ่งทำให้หัวไหล่มีความแข็งแรง และทำให้กล้ามเนื้อไหล่หมุนได้
เพื่อการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ
แต่หากเมื่อไหร่ที่เกิดอาการเอ็นข้อไหล่บาดเจ็บหรือเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
ก็อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและไม่สามารถยกแขนใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไป
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น อาจลงเอยด้วยการผ่าตัดได้ในที่สุด...”
ประโยชน์จากเทคโนฯ ก้าวหน้าทั้งตรวจ-รักษา
ประโยชน์จากเทคโนฯ ก้าวหน้าทั้งตรวจ-รักษา
ก่อนที่คุณหมอจะทำการรักษานั้นต้องตรวจร่างกายเบื้องต้นพร้อมกับสอบถามซักประวัติของอาการเจ็บป่วย
เพื่อวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าอาการบาดเจ็บเป็นที่กระดูกหรือที่กล้ามเนื้อ
ซึ่งการตรวจด้วยฟิล์มเอกซเรย์ก็จะช่วยให้ทราบว่ามีความผิดปกติที่กระดูกหรือไม่
แต่หากสงสัยว่าเป็นที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ หรือเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
ก็จำเป็นต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมโดยใช้ “เทคโนโลยีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า”
หรือ MRI ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอมองเห็นร่องรอยการฉีกขาดของเส้นเอ็น
หรือสภาพภายในหัวไหล่อย่างชัดเจน
และเมื่อทราบที่มาสาเหตุของปัญหาแล้วก็จะวางแผนในขั้นตอนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
โดย “คุณหมอไกรพ”
ได้อธิบายถึงการรักษากลุ่มผู้ป่วยที่ปวดข้อไหล่ว่าแบ่งออกเป็น 3-4 ระดับ อย่างแรกเลยคือ ให้“พักการใช้ไหล่” โดยอาจร่วมกับ
การกินยา ซึ่งมีทั้งยาต้านการอักเสบ ยาลดปวด ยาคลายกล้ามเนื้อแล้วแต่ความเหมาะสม...อันดับต่อมาคือให้ “ทำกายภาพ” บริหารข้อไหล่
หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้ข้อไหล่ แต่หากผู้ป่วยได้กินยาแล้ว
ทำกายภาพแล้วยังไม่หาย ก็จะใช้ “ยาฉีด”
เพื่อลดการอักเสบที่ข้อไหล่ถ้ารอยโรคที่เกิดขึ้นนั้นไม่ค่อยมากนัก...
ส่วนอีกวิธีรักษาที่ต้องพิจารณาหลังจากได้ลองทำทั้ง
3
ขั้นตอนที่ว่านี้แล้วแต่ยังไม่เห็นผลก็ต้องอาศัยวิธี “การผ่าตัด”
ซึ่งคุณหมอบอกว่าจะเลือกเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการรักษาข้อไหล่ ทั้งนี้ในกรณีของ
“คุณทองสุข” หลังจากได้เข้ารับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI
แล้วพบว่ามีเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่!!!...
จึงจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่
เพื่อรักษาให้หาย โดยที่ ศูนย์โรคปวดเข่า รพ.ลานนาได้ใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องที่ข้อไหล่ให้กับผู้ป่วยรายนี้
และส่งผลให้มีการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อไม่มาก เพราะขนาดของแผลผ่าตัดคือ 3-4
มิลลิเมตร
เพื่อสอดเครื่องมือและกล้องขนาดเล็กที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปบริเวณรอบ ๆ
หัวไหล่เพื่อทำการผ่าตัดเข้าไปเย็บซ่อมเอ็น โดยดูรายละเอียดได้อย่างชัดเจนผ่านจอรับภาพที่ติดตั้งอยู่ภายนอกซึ่งเป็นเทคโนโลยีการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม
“หมอจอแก้ว” ขอปิดท้ายด้วยถ้อยคำจาก “คุณทองสุข”
เพื่อให้ท่านผู้อ่านชาวเชียงใหม่
และทุกจังหวัดได้มีข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์ในกรณีที่อาจเจอปัญหา “เอ็นหัวไหล่ฉีก”
ขึ้นมาในอนาคตนะครับ
“...ผมพอใจกับการรักษาในครั้งนี้มากครับ
และอยากจะบอกต่อถึงผู้ที่มีปัญหาเช่นเดียวกับผมว่า อย่ารอให้อาการหนัก
ควรมาพบคุณหมอทันทีเมื่อมีอาการ หรือท่านใดที่มีอาการเรื้อรังมานานแล้ว ถ้าคุณหมอให้ผ่าตัดรักษาก็อย่ากลัวเลยครับ
เพราะการผ่าตัดเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป
ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่ “ศูนย์โรคปวดเข่า โรงพยาบาลลานนา” ดังที่ผมไปรักษามาแล้วครับ”