โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่ ใช้เทคโนโลยี ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโดยการส่องกล้อง www.lanna-hospital.com

13 กันยายน 2561

#อุ่นใจ...ใกล้หมอ #เดลินิวส์ ทนมา 5 ปีอาการหนักขึ้นต้องใช้อุปกรณ์พยุงตัวจึงตัดสินใจ.. คืนความสุขให้ตัวเองโดย "เปลี่ยนข้อสะโพก" ที่ รพ.ลานนา

          ทนมา 5 ปีอาการหนักขึ้นต้องใช้อุปกรณ์พยุงตัวจึงตัดสินใจ...

          คืนความสุขให้ตัวเองโดยเปลี่ยนข้อสะโพกที่ รพ.ลานนา ชม.

          เปิดใจแม้ไม่เคยผ่าตัดใหญ่ก็ต้องยอม

          ปัญหาคาอกที่สร้างความทุกข์ให้กับ คุณศิริพร ยาวิชัย วัย 64 ปีเป็นเวลานานถึง 5 ปีคือความเจ็บป่วยด้วย “โรคข้อสะโพกเสื่อม” ซึ่งทำให้ต้องเผชิญความเจ็บปวดรวดร้าวเรื่อยมาเวลาที่ต้องขยับตัวเคลื่อนไหวส่วนล่างของร่างกายที่อาศัยสะโพกเป็นแกน โดย คุณศิริพร เผยว่าตอนแรก ๆ ยังปวดไม่มากก็ยังพอทนแต่พอนานหลายปีเข้าก็ยิ่งลำบากเมื่อต้องการลุกไปนั่นมานี่ ที่ผ่านมาได้ไปหาหมอแค่ปีละครั้งโดยจะยอมไปเฉพาะเมื่อเกิดความปวดจนทนไม่ไหวแล้วเท่านั้น แต่เมื่อผ่านมาถึงปีที่ 5 อาการก็หนักหว่าเดิมถึงขนาดว่าต้องหาอุปกรณ์มาช่วยพยุงตัวเวลาลุกยืนหรือเดิน ซึ่งเจ้าตัวย้ำเลยว่า “ทั้งปวด ทั้งลำบาก”...ซึ่งเมื่อเจอเข้าอย่างนั้นบ่อยครั้งก็เริ่มคิดและตัดสินใจไปพึ่งคุณหมอโดยหวังที่จะให้ตัวเองได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว สามารถเดินเหินได้สะดวกเหมือนก่อนหน้านี้จะได้พ้นความทรมานให้เร็วที่สุดได้จะดีมาก...หลังจากคิดได้ดังนั้นแล้วผู้ป่วยรายนี้ได้มุ่งหน้าไปยัง ศูนย์โรคปวดเข่า รพ.ลานนา จ.เชียงใหม่ ซึ่งผลการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อประจำศูนย์ฯ ระบุว่า... ข้อสะโพกด้านซ้ายเสื่อมหนัก... คุณหมอจึงแนะนำให้เข้ารับการรักษาโดยใช้ เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งนอกจากจะไม่ขัดข้องแล้ว คุณศิริพร ยังพร้อมให้คุณหมอนัดวันผ่าตัดในสัปดาห์ถัดไปไว้เลยแม้ว่าตั้งแต่เล็กจนโตจะไม่เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่มาก่อนแม้แต่ครั้งเดียว...

          ส่วนที่ว่าผลที่ปรากฏหลังการผ่าตัดจะเป็นอย่างไรนั้น “หมอจอแก้ว” ขออุบไว้เล่าให้ทราบหลังจาก พาไปติดตามข้อมูลความรู้เกี่ยวกับที่มาสาเหตุของ “โรคข้อสะโพกเสื่อม” รวมถึงปัญหาอาการที่จะตามมาสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยดังตัวอย่างที่นำมาถ่ายทอดนี้ 

          ‘ผ่าตัด’หรือ ‘ใช้ยา’ แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย...

          “ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ามารับการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม จะเป็นกลุ่มของผู้สูงอายุอันมีสาเหตุจากความเสื่อมตามอายุขัย แต่นอกจากนั้นยังพบว่าคนวัยกลางคนก็สามารถเป็นได้โดยอาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุ โรคในกระดูก  สาเหตุจากเลือดไม่ไปเลี้ยงหัวข้อสะโพก รวมทั้งผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และคนที่ได้รับสาร “สเตียรอยด์” ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เร็ว ซึ่งอาการส่วนใหญ่ของคนไข้ที่มำพบแพทย์มักจะมาด้วยอาการ ปวดสะโพกเรื้อรัง เวลาเคลื่อนไหว เดิน นั่ง ยืน บางคนเป็นหนัก แม้แต่อยู่เฉย ๆ ก็ปวดสะโพกได้...” 

          ผู้ระบุข้อมูลข้างต้นนี้คือ นพ.ดุสิต ศรีสกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ รพ.ลานนา ซึ่งนอกจากนี้ยังสรุปให้ทราบเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญปัญหาความทุกข์ทรมานจากโรคข้อสะโพกเสื่อมด้วยภาวะอาการที่แตกต่างกันมีทั้งปวดแถว ๆ สะโพกด้านหลังคล้ายกับอาการของโรคปวดหลังซึ่งทำให้ผู้ป่วยแยกแยะไม่ถูกและไม่รู้ตัวว่าเจอโรคข้อสะโพกเสื่อมเข้าให้แล้ว จึงเป็นผลให้การรักษาไม่ถูกที่ถูกทางจนไปถึงขั้นเรื้อรังและรักษายากขึ้นขณะที่บางคนมีอาการหนักถึงขั้นเดินแทบไม่ได้ทั้ง ๆ ที่อาการที่เกิดขึ้นเมื่อแรกเริ่มนั้นผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณขาหนีบหรือต้นขาด้านหน้า ต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายจะส่งผลให้ปวดมากขึ้นจนต้องพักจึงจะทุเลาแต่เชื่อเลยว่ายิ่งนานวันเข้าอาการปวดก็จะเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้นจนผู้ป่วยแทบขยับไม่ได้ดังที่กล่าวไว้ซึ่งหนทางสุดท้ายของการรักษา คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เพื่อทดแทนข้อสะโพกที่เสื่อมเสียไป 

          แต่...ประเด็นการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นผู้ป่วยหลายรายยังไม่มั่นใจแถมยังกลัวอีกด้วยว่าผ่าตัดแล้วจะสามารถกลับไปเดินได้เหมือนเดิมหรือไม่ ??...แต่จริง ๆ แล้ว ก่อนจะไปถึงขั้นที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้เข้ารับการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมด้วยการผ่าตัดนั้น แพทย์จะทำการตรวจประเมินวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการเสื่อมของสะโพกรุนแรงมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ด้วยแหตุที่การรักษาผู้ป่วยแต่ละรายที่เกิดภาวะอาการแตกต่างกันทำให้แพทย์ต้องวินิจฉัยเป็นกรณีไป โดยอาจเริ่มตั้งแต่การให้ยาไปรับประทาน หรือกรณีที่เกิดอาการปวดมากก็จะให้ฉีดยาระงับปวด รวมทั้งแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งหากให้รักษาในเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือหนักกว่าเดิม แพทย์จึงจะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งเป็นการนำข้อสะโพกเก่าที่มีปัญหาออก แล้วนำข้อสะโพกเทียมที่ทำมาจากวัสดุการแพทย์พิเศษใส่เข้าไปแทน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เช่นเดิม

          อย่างไรก็ตามคุณหมอก็ต้องคำนึงถึง “ข้อห้าม” ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมสำหรับผู้ป่วยบางกรณีด้วย เพราะบางรายอาจมีความไม่พร้อมในบางเรื่องเช่น ผู้ป่วยรายที่อ้วนและมีน้ำหนักตัวมาก หรือในรายที่มีข้ออักเสบติดเชื้อ หรือกล้ามเนื้อรอบสะโพกของผู้ป่วยยังอ่อนแรงมากซึ่งอาจมีปัญหาข้อสะโพกหลุดเคลื่อนได้ง่าย เป็นต้น 

          ความยินดีของ...ผู้ก้าวข้ามความทรมาน...

          ถึงตรงนี้ “หมอจอแก้ว” จะให้ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเหนือที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียงใหม่หรือใกล้เคียงได้ทราบว่าหลังจากที่ คุณศิริพร ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแล้วเป็นอย่างไร...

          “...หลังการผ่าตัดได้ 3 วันดิฉันก็สามารถลุกขึ้นยืนได้และนอนพักที่ รพ.ลานนารวม 5 คืนคุณหมอก็ให้กลับบ้านได้ โดยรอให้แผลผ่าตัดหายดีและฝึกเดินตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ แต่คุณหมอบอกว่าต้องลดน้ำหนักและเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อข้อสะโพกให้เสียหายได้...การที่เราเดินเอง เดินได้ดี ไปไหนมาไหนได้คล่อง และใช้ชีวิตอยู่กับลูกหลานโดยไม่มีความเจ็บปวดทรมานใด ๆ ถือเป็นความสุขที่สุดในบั้นปลายชีวิตของดิฉันแล้ว คิดไม่ผิดจริง ๆ ที่เลือกตัดสินใจผ่าตัดข้อสะโพกในครั้งนี้ ทำให้ความสุขของดิฉันกลับมาอีกครั้งค่ะ...”

          เชื่อเหลือเกินว่าท่านผู้อ่านคงไม่ต้องการคำอธิบายใด ๆ เพิ่มเติมอีกแล้วละครับ…